จังหวัดสุรินทร์ มีช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณอีกทั้งชาวกวยหรือกูย ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองในอดีตได้จับช้างป่ามาฝึก เพื่อใช้งานในด้านต่างๆเช่น การพาหนะ การขนส่ง รวมถึง ช้างยังมีบทบาทในการประกอบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวกวย ชาวกวยแต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้นระหว่างคนกับช้าง ชาวกวยจึงเลี้ยงช้างในฐานะที่เป็นสัตว์เลี้ยงเสียมากกว่าจะเป็นสัตว์ที่ไว้ใช้งาน การฝึกช้างของชาวกวยจึงเป็นการฝึกช้างให้เชื่องและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าของ ด้วยความเฉลียวฉลาด และความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ของช้างนี้เอง กลุ่มผู้นำในหมู่บ้านได้เล็งเห็น และรวมตัวกันเพื่อแสดงให้คนภายนอกเห็นถึงความผูกพันของคนกับช้างที่สามารถอยู่ร่วมกันและสื่อสารกันได้พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันแสนพิเศษของช้างไทย การแสดงช้างครั้งแรก จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จากความน่ารัก ความแสนรู้ของช้างสุรินทร์ ในครั้งนั้น ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่สร้างชื่อเสียงและความประทับใจให้แก่ผู้ชมทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก
บริเวณตอนเหนือของ "จังหวัดสุรินทร์" ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว "กวย" หรือ "ส่วย" นิยมเลี้ยงช้างมาแต่โบราณกลาล เพื่อนำไปใช้ในและพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 58 กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของ "หมู่บ้านช้าง"
หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้าง วิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท. (ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุนโดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดงและนำนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาชมการแสดง
ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่อง เที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาที่สนามกีฬาจังหวัด ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และได้กำหนดจัดงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้าง วิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท. (ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุนโดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดงและนำนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาชมการแสดง
ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่อง เที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาที่สนามกีฬาจังหวัด ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และได้กำหนดจัดงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี