บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน(00012006)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ท่องเที่ยวธรรมชาติ จังหวัดสุรินทร์

ห้วยเสนง

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
ห้วย เสนง เป็นอ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทาน อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนสายสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข 214) ประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 5-6 แยกซ้ายมือไปทางถนนริมคลองชลประทาน ประมาณ 4 กิโลเมตร ห้วยเสนงนี้เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีสันเขื่อนสูง บนสันเขื่อนเป็นถนนลาดยาง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองสุรินทร์ และภายในที่ทำการชลประทานมีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี

เขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้สนสองใบ

อำเภอลำดวน จ.สุรินทร์
เขตอนุรักษ์ พันธุ์ไม้สนสองใบ อยู่ที่บ้านหนองคู ตำบลโชกเหนือ อำเภอลำดวน เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้สนสองใบที่ถือว่าเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดที่ขึ้นใน ที่ราบสูง เป็นโครงการร่วมระหว่างไทย-เดนมาร์ก มีเนื้อที่ 625 ไร่ มีลักษณะเด่นคือ เป็นสนสองใบที่ขึ้นในที่ราบแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 35 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-สังขะ (ทางหลวงหมายเลข 2077) เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวสุรินทร์อีกแห่งหนึ่ง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ถนนสุรินทร์-ปราสาท หมู่ที่ 13 ตำบลเฉนียง มีการจัดแสดงเป็น 4 ส่วน คือ อาคารที่ 1 เป็นโถงทางเข้าและทางเดิน อาคารที่ 2 เป็นส่วนการศึกษา ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องกิจกรรม ห้องรับรอง ห้องสมุด อาคารที่ 3 เป็นอาคารจัดแสดงและสำนักงาน ประกอบด้วย ห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ อาคารที่ 4 เป็นคลังพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย ห้องคลังโบราณวัตถุ ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์และสงวนรักษา เนื้อหาการจัดแสดงในห้องนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นช่วยค้นคว้าและรวบ รวม โดยการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 5 เรื่อง คือ ธรรมชาติวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์เมือง ชาติพันธุ์วิทยา และมรดกดีเด่นประจำจังหวัด โดยจัดแสดงในอาคารที่ 3 ดังนี้

ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาในด้านต่างๆ ประวัติศาสตร์โบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ประวัติศาสตร์เมืองตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน และมรดกดีเด่นในเรื่องการเลี้ยงช้าง

ชั้นบน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเขมร ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายกูย และชาวไทยโคราช ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และมรดกดีเด่นในงานหัตถกรรมและศิลปะการแสดงพื้นบ้านในด้านต่างๆ
1. ธรรมชาติวิทยา ในส่วนนี้จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์ เนื้อหาประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องข้าวและการทำนาด้วย เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีแห่งหนึ่ง โดยใช้เทคนิคการจัดแสดงที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจเนื้อหา และเกิดความเพลิดเพลินในการเข้าชม
2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่เมื่อ ประมาณ 2,000 - 1,500 ปีมาแล้ว สมัยวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 สมัยวัฒนธรรมขอมมีอายุประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 จนถึงสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง-อยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 24 ในการจัดแสดง จะจำลองสภาพชีวิตและพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยทวารวดี ขอม และอยุธยา-ล้านช้าง ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ หุ่นจำลองโบราณสถานประกอบการฉายวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้ชมได้เกิดความเข้าใจในการศึกษาทางด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะที่พบในจังหวัดสุรินทร์
3. ประวัติศาสตร์เมือง เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกูยช่วยจับช้างเผือกที่หลุดมาจากกรุงศรีอยุธยา และได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตย ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดง จะจำลองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการศึกษาในอดีต โดยจำลองลงในตู้จัดแสดง ให้ผู้ชมสามารถซึมซับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ในอดีต จนมาเป็นจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบัน
4. ชาติพันธุ์วิทยา เนื้อหาจะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประกอบด้วยชน 4 กลุ่มใหญ่ คือ ชาวกูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง ชาวเขมร กลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์มานานแล้ว ชาวลาว กลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสุด และชาวไทยโคราช เป็นชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบจังหวัดนครราชสีมา ในการจัดแสดง จะจำลองให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน หุ่นจำลองการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยกูย ไทยเขมร ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยลาวและชาวไทยโคราช ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touchscreen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด 5. มรดกดีเด่น เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงินและการทอผ้าไหม ศิลปการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือมต่างๆ การละเล่นเจรียงแบบต่างๆ รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม และการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในส่วนการจัดแสดง จะใช้หุ่นจำลอง ภาพถ่าย และวีดีทัศน์ เป็นสื่อให้เห็นถึงการผลิตและใช้ประโยชน์จากงานหัตถกรรม หุ่นจำลองและวีดีทัศน์เรื่องการจัดแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านเลี้ยงช้าง และวีดีทัศน์ ให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์ที่มีมาในอดีต และยังคงรับใช้ชุมชนอยู่ในปัจจุบัน โบราณวัตถุที่จัดแสดง จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชและสัตว์ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประติมากรรมและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมเขมร อาวุธโบราณ เครื่องประดับเงิน ผ้าไหม ฯลฯ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4451 3358 หรือ
http://www.thailandmuseum.com

ปราสาทตะเปียงเตีย (แปลว่า หนองเป็ด)

อำเภอลำดวน จ.สุรินทร์
ปราสาท ตะเปียงเตีย (แปลว่า หนองเป็ด) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลโชกเหนือ ภายในบริเวณวัดปราสาทเทพนิมิตร หลักกม. 33-34 ทางหลวงหมายเลข 2077 แยกเข้าทางลูกรังอีก 7 กิโลเมตร ลักษณะปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอดปราสาท 5 ยอด เป็นรูปบัวตูม ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐ ลักษณะการก่อสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบลาว สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
หมู่ บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า"ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ" เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง"จันทร์โสมา" ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทย โบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่าง มารวมกลุ่มกันทำงานทอผ้ายามว่างจากงานไร่งานนา ด้วยการออกแบบลวดลายที่สลับซับซ้อนงดงามและศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกันระหว่างลวดลายการทอแบบราชสำนัก กับเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นบ้าน จนกลายเป็นผ้าทอที่มีความงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว โลก ผลงานที่โดดเด่นของที่นี่คือการได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาล ให้ทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำและผ้าคลุมไหล่สำหรับคู่สมรสผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปกเมื่อปลายปี 2546 จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ"หมู่บ้านทอผ้าเอเปก"และรางวัล OTOP ระดับ 5 ดาว ของประเทศ

ความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง "จันทร์โสมา" เกิดจากการเลือกเส้นไหมน้อยที่เล็กและบางเบานำมาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสีคือสีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแลและสีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทองที่ทำจากเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็กๆปั่นควบกับเส้น ด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนตะกอมากกว่าร้อยตะกอ จนกระทั่งการวางกี่บนพื้นดินธรรมดามีความสูงไม่พอ ต้องขุดดินบริเวณนั้นให้เป็นหลุมลึกไป2-3 เมตร เพื่อรองรับความยาวของตะกอที่ห้อยลงมาจากกี่ให้เป็นระเบียบ ให้คนสามารถอยู่ในหลุมเพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย เนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง 4-5 คน คือจะมีคนช่วยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ 1 คนและคนทออีก 1 คน และความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น
การเดินทางจากตัวเมืองสุรินทร์ใช้เส้นทางหลวงชนบท สร.4026 ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอด

หมู่บ้านจักสานบ้านบุทม

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
หมู่ บ้านจักสานบ้านบุทม ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองที อำเภอเมือง การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 226 จากตัวเมืองไปทางอำเภอศรีขรภูมิประมาณ 12 กิโลเมตร ในช่วงนอกฤดูทำนาชาวบ้านจะมีอาชีพพิเศษด้วยการสานตะกร้าและภาชนะต่าง ๆ ที่ทำจากหวายเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และเป็นของที่ระลึกเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว

ตลาดการค้าช่องจอม

อำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์
ตลาด การค้าช่องจอม ตั้งอยู่ที่บ้านด่านพัฒนา ตำบลด่าน ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 69 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวอำเภอกาบเชิง 13 กิโลเมตร เดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายห้วยทับทัน-ห้วยสำราญและประกาศเป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2538 ฝั่งตรงข้ามด้านกัมพูชาเป็นชุมชนโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัยช่องจอมเป็นเส้นทางข้ามแดนที่ใหญ่และสะดวกที่สุดของจังหวัด สุรินทร์
ที่จะไปยังกัมพูชา ทำให้มีการติดต่อสัญจรไปมาและซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวไทยและกัมพูชามาเป็น
เวลาช้านาน และเป็นที่มาของแนวความคิดในการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศ
ตลาดแห่งนี้เปิดทำการค้าขายและสัญจรไปมาทุกวันเวลา 8.00-16.00 น. (อนุญาตให้ข้ามแดนเฉพาะคนไทยเท่านั้น) ประเภทสินค้ามีทั้งสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และสิ่งประดิษฐ์จากไม้ เช่น ม้านั่ง หัตถกรรมไม้ เสื่อสานไม้ไผ่ ตะกร้าสานต่าง ๆ

การเดินทาง ใช้เส้นทางสุรินทร์-ช่องจอม ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 69 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอกาบเชิง 13กิโลเมตร

อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
อนุสาวรีย์ พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้สร้างเมืองท่านแรก ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ทางเข้าเมืองสุรินทร์ทางด้านใต้ ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่ถนนสุรินทร์-ปราสาท เป็นบริเวณที่เคยเป็นกำแพงเมืองชั้นในของตัวเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็นการแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถของท่านในการบังคับช้างศึก และเป็นเครื่องแสดงว่าสุรินทร์เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์ รูปปั้นสะพายดาบคู่อยู่บนหลังอันหมายถึงความเป็นนักรบ ความกล้าหาญอันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกของคนสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2528




ศาลหลักเมืองสุรินทร์

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
ศาล หลักเมืองสุรินทร์ เป็นสถานที่สำคัญและเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร เดิมเป็นเพียงศาลไม่มีเสาหลักเมือง มีมานานกว่าร้อยปี เมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517

วัดบูรพาราม

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
วัด บูรพาราม ตั้งอยู่ที่ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง ใกล้กับศาลากลางจังหวัด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของ จังหวัด คือ หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม นอกจากนี้ผู้มาเยือนยังได้แวะนมัสการรูปเหมือนหลวงปู่ดูลย์ อตุโลอีกด้วยวัดบูรพารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี หรือในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ 200 ปี เท่ากับอายุเมืองสุรินทร์ สร้างโดยพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดบูรพารามขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520


วนอุทยานพนมสวาย

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
วนอุทยาน พนมสวาย เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูนขึ้นถึงวัด มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลปางประทานพร ภปร. ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานไว้ ยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525 ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นวนอุทยานแล้ว บรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล

หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
หมู่ บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม ตั้งอยู่ที่ตำบลตาอ็อง ทางตะวันออกของตัวเมือง ตามทางสายสุรินทร์-สังขะ (ทางหลวงหมายเลข 2077) ประมาณ กม.ที่ 12 ที่หมู่บ้านจันรมมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกันเอง แล้วนำมาทอเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายและสีแบบโบราณ

ปราสาทภูมิโปน

อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์
ปราสาท ภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ-บัวเชด) ตรงต่อไปจนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และก่อศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13 ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้ นั้น สร้างขึ้นในสมัยหลังปราสาทภูมิโปนคงสร้างขึ้น เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน แม้ไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนตร์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเครรพในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับ พื้นห้อง
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

ปราสาทยายเหงา

อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์
ปราสาท ยายเหงา ตั้งอยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมถนนสายโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ระหว่าง กม. 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร เป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐเป็นลวดลายเช่นที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาคห้าเศียรจากลักษณะแผนผังของอาคารน่าจะประกอบด้วยปราสาท 3 องค์ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2 องค์ บริเวณปราสาทพบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้ด้านหน้าปราสาท
การเดินทาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะ ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย-เดชอุดม) ระหว่างกิโลเมตรที่ 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร

ปราสาทบ้านไพล

อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์
ปราสาท บ้านไพล ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 22 กิโลเมตร (ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอปราสาท 6 กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปตามถนนลาดยางอีก 3กิโลเมตร ตัวปราสาทมีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ สร้างด้วยอิฐขัดตั้งเรียงเป็นแนวเดียวกัน มีคูน้ำล้อมรอบ ยกเว้นทางเข้าด้านทิศตะวันออก แม้ว่าศิวลึงค์และทับหลังบางส่วนจะหายไป แต่จากเศษทับหลังที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ทำให้ทราบว่าปราสาทหลังนี้คงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16

ปราสาทหินบ้านพลวง

อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์
ปราสาท หินบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลกังแอน ห่างจากที่ว่าการอำเภอปราสาท 4 กิโลเมตรตามถนนสายสุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม (ทางหลวงหมายเลข 214) มีทางแยกซ้ายมือที่กม. 34-35ไปอีกราว 1 กิโลเมตร ปราสาทหินบ้านพลวงเป็นปราสาทหินขนาดเล็กแต่ฝีมือการสลักหินประณีตงดงามมาก ได้รับการขุดแต่งบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยวิธีอนัสติโลซิส คือการรื้อตัวปราสาทลง เสริมความมั่นคง และประกอบขึ้นใหม่ดังเดิม ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้เป็นปรางค์องค์เดียว ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียวส่วนด้านอื่นอีกสามด้านทำเป็นประตู หลอก องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง หินทราย และมีอิฐเป็นวัสดุร่วมก่อสร้างในส่วนบนของปราสาท โบราณสถานแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมจำหลักลายงดงามมาก แต่องค์ปรางค์เหลือเพียงครึ่งเดียว ส่วนยอดหักหายไป มีคูน้ำเป็นรูปตัวยูล้อมรอบ ถัดจากคูน้ำเป็นบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ที่เห็นเป็นคันดิน เดิมคงเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนมาก่อนลักษณะของทับหลังที่พบส่วนมาก สลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ภายในซุ้มเหนือหน้ากาล มีซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ ส่วนทางด้านเหนือสลักเป็นรูปพระกฤษณะฆ่านาค สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นสำหรับพระอินทร์ นอกจากนี้ช่างมักสลักเป็นรูปสัตว์เรียงเป็นแนว เช่น ช้าง กระรอก หมู ลิง และวัว อยู่บนทับหลังสำหรับด้านทิศตะวันออกสลักเป็นรูปพระกฤษณะ ยกภูเขาโควรรธนะและเช่นเดียวกัน มีรูปสลักเป็นรูปสัตว์เล็ก ๆ นอกกรอบหน้าบันอันน่าจะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำต่าง ๆ อยู่มาก ที่ผนังด้านหน้ามีรูปทวารบาลยืนกุมกระบอง ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้คล้ายกับปรางค์น้อยบนเขาพนมรุ้ง ลวดลายเป็นลักษณะศิลปะขอมแบบบาปวน กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 จากลักษณะของฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทางด้านข้างขององค์ปรางค์เหลืออยู่มาก สันนิษฐานว่า แผนผังที่แท้จริงของปราสาทแห่งนี้น่าจะประกอบด้วยปรางค์สามองค์สร้างเรียง กัน แต่อาจยังสร้างไม่เสร็จหรืออาจถูกรื้อออกไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้
ปราสาทหินบ้านพลวงเปิดให้ชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท


ปราสาทเมืองที

อำเภอเมือง จ.สุรินทร์
ปราสาท เมืองที ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที ภายในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ปราสาทเมืองทีเป็นปราสาทแบบเขมรที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลัง เช่นเดียวกับปราสาทศรีขรภูมิ ปราสาทก่อด้วยอิฐฉาบปูน มี 5 หลัง สร้างรวมกันเป็นหมู่บนฐานเดียวกันหลังหนึ่งอยู่ตรงกลาง และอีก 4 หลังอยู่ที่มุมทั้ง 4 ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 หลังซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังกลางมีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ตัวเรือนธาตุตันทึบไม่มีประตูเนื่องจากการดัดแปลง ส่วนหลังคาทำเป็นชั้นมี 3 ชั้นเลียนแบบตัวเรือนธาตุ ส่วนยอดบนหักหาย นับเป็นโบราณสถานเขมรอีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้าง คือ มีปราสาทหลังกลางเทียบเท่าเขาพระสุเมรุ และมีปรางค์มุมทั้งสี่ตามความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์ แต่ไม่พบจารึกหรือลวดลายทางศิลปะที่สามารถบอกว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-ศรีขรภูมิ ทางหลวงหมายเลข 226 จนถึงบ้านโคกลำดวน เลี้ยวซ้ายเข้าวัดจอมสุทธาวาส

ปราสาทศีขรภูมิ

อำเภอศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
ปราสาทศีขรภูมิ ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 226 โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปอีก 1 กิโลเมตร ปราสาทศีขรภูมิประกอบด้วยปรางค์อิฐ 5 องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือด้านทิศตะวันออก ปรางค์ทั้งห้าองค์มีลักษณะเหมือนกัน คือ องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีชิ้นส่วนประดับทำจากหินทรายสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ทั้งส่วนที่เป็นทับหลังและเสาประดับกรอบประตู เสาติดผนัง และกลีบขนุนปรางค์ ส่วนหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น องค์ปรางค์ประธานมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเนศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาลส่วนปรางค์บริวารพบทับ หลัง 2 ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นภาพกฤษณาวตาร ทั้งสองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าช้างและคชสีห์ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะฆ่าคชสีห์ จากลวดลายที่เสาและทับหลังขององค์ปรางค์ มีลักษณะปนกันระหว่างรูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวน (พ.ศ. 1550-1650) และแบบนครวัด (พ.ศ. 1650-1700) จึงอาจกล่าวได้วา ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 หรือต้นสมัยนครวัด โดยสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และคงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา ตามที่มีหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ในสมัยอยุธยาตอนปลายปราสาทศีขรภูมิเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชมชาวไทย คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท

หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์

อำเภอท่าตูม จ.สุรินทร์
หมู่ บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 และ 13 บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม พื้นที่หมู่บ้านเป็นที่นาและป่าละเมาะสลับกับป่าโปร่ง เหมาะกับการเลี้ยงช้างชาวบ้านตากลางดั้งเดิมเป็นชาวส่วย หรือ กูย หรือ กวย มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้างและเลี้ยงช้าง ส่วนมาต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชา ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านไม่สามรถไปคล้องช้างเช่นแต่ ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้างและฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของ จังหวัดทุกปี
การเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลาง ไม่เหมือนการเลี้ยงช้างของชาวภาคเหนือที่เลี้ยงไว้ใช้งาน แต่ชาวบ้านตากลางเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้าท่านได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังได้สัมผัสการดำรงชีวิตของชาวส่วย พร้อมทั้งได้พบปะพูดคุยกับหมอช้างที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้ว และยังสามารถเดินทางไปชมบริเวณที่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนและชวนให้ศึกษาในเชิงธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างขึ้นภายในหมู่บ้านด้วย เพื่อรวบรวมประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับช้าง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง และให้ความรู้ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับช้าง
ชาวบ้านตากลางได้จัดให้มีการแสดงช้างสำหรับนักท่องเที่ยว มีบริการนั่งหลังช้างชมหมู่บ้าน และโฮมสเตย์สำหรับผู้ต้องการพักค้างแรมและเรียนรู้วิถีชีวิตคนกับช้าง ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์คชศึกษาบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม โทร.0 4414 5050,0 4451 1975
การเดินทาง อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางเหนือตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ก่อนถึงอำเภอท่าตูม มีทางแยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 ไปตามทางราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร

หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์

อำเภอเขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์
หมู่ บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองสุรินทร์ ตามทางหลวงหมายเลข 214 (ทางสายสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ไปประมาณ 14 กิโลเมตร แยกขวามือไปอีก 4 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าไหมพื้นเมืองและการผลิตลูกประคำเงิน ที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เรียกกันว่า ลูกปะเกือม นำมาทำเป็นเครื่องประดับของสุภาพสตรีที่สวยงาม มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าในบริเวณหมู่บ้าน ราคาย่อมเยา


โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน

อำเภอพนมดงรัก จ.สุรินทร์
โบราณ สถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง เป็นโบราณสถานแบบขอม 3 หลัง ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา ปราสาทตาเมือน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย ปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น

ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพืทธศตวรรษที่ 18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาล ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี
ปราสาทตาเมือนธม อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำ และที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน

การเดินทางจาก จังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก 13 กิโลเมตร
เนื่องจากโบราณสถานกลุ่มนี้ อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชาและสภาพถนนยังเป็นลูกรังขรุขระ นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปชมควรคำนึงถึงความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าว โดยสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่ก่อนเดินทางเข้าไปด้วย
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่าง ๆ

อำเภอเมือง - อำเภอปราสาท 28 กิโลเมตร             อำเภอเมือง - อำเภอสังขะ 49 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอศรีขรภูมิ 34 กิโลเมตร             อำเภอเมือง - อำเภอสำโรงทาบ 54 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอจอมพระ 26 กิโลเมตร            อำเภอเมือง - อำเภอท่าตูม 51 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอชุมพลบุรี 91 กิโลเมตร            อำเภอเมือง - อำเภอรัตนบุรี 70 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอสนม 49 กิโลเมตร                   อำเภอเมือง - อำเภอกาบเชิง 58 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอบัวเชด 70 กิโลเมตร                อำเภอเมือง - กิ่งอำเภอลำดวน 26 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ 18 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - กิ่งอำเภอพนมดงรัก 32 กิโลเมตร

ทางรถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ( หัวลำโลง ) มีรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ สายกรุงเทพฯ -อุบลราชธานีแวะจอดที่จังหวัดสุรินทร์
และขบวนรถดีเซลราง กรุงเทพฯ - สุรินทร์ระยะทางเพียง 420 กิโลเมตรสอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย

โทร. 2237010, 2237020

ทางรถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทาง ( บขส ) ทั้งรถธรรมดา รถปรับอากาศชั้น 1 และ รถนอน VIPออกจากสถานีขนส่งสาย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใหม่ ( ขนส่งหมอชิตใหม่ ) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมงเท่านั้น ติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่

โทร. 2710101-5 ( รถธรรมดา )และ โทร. 2794484-7 ( รถปรับอากาศ )

การเดินทาง


ทางรถยนต์
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ( ถนนพหลโยธิน ) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ( ถนนมิตรภาพ )ที่จังหวัดสระบุรี เมื่อถึงอำเภอสีคิ้ว
จังหวัดนครราชสีมา จะมีเส้นทางให้ท่านเลือก 2 เส้นทาง เส้นทางแรกเป็นเส้นทางโชคชัย-เดชอุดม ( ทางหลวงหมายเลข 24 ) ผ่านอำเภอนางรอง
จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านอำเภอปราสาทจากอำเภอปราสาทแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ตรงเข้าตัวจังหวัดสุรินทร์รวมระยะทางทั้งสิ้น
450 กิโลเมตร อีกเส้นทางตรงเข้าตัวจังหวัดนครราชสีมา วิ่งไปตามทางหลวงที่จะไปอำเภอด่านเกวียน ก่อนออกจากตัวเมืองนครราชสีมานั้น
ให้เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอห้วยแถลง ตรงเข้าจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อวิ่งเข้าสู่จังหวัดสุรินทร์

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่องของช้าง


๑๓ เดือนมีนาคมของทุกปี ถือว่าเป็นวันช้างไทย ปีนี้จัดเป็นครั้งที่ ๒ หลังจากในปีที่แล้ว
ผมได้เข้าร่วมสัมมนาด้วยที่โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในเดือนนี้เช่นกันหาก
ใครที่ติดตามดูเคเบิลทีวีและสนใจเรื่องราวของช้าง ก็คงจะไม่พลาดการติดตามชมสารคดี
ระดับโลก เกี่ยวกับการขุดซากช้างแมมมอธ
ดูข่าว  เห็นควาญช้างและช้างเดินขบวนในกรุงเทพก็่อดใจหายไม่ได้ ใช่...ไม่มีใครเข้าใจและเห็นใจพวกเขา แม้แต่คนสุรินทร์ด้วยกันเอง...และผมได้เขียนเรื่องราวเหล่านี้เมื่อ ๕ ปีที่ผ่านมาทุกวันก็ยังมีปัญหาเหมือนเดิม
"จากป่าสู่เมืองนะครับ"   ซึ่งผมทำ link ไว้


เสียดายที่พวกเราเกิดไม่ทันยุคไดโนเสาร์ ไม่งั้นคงได้เห็นอะไรดีๆ มาเล่าสู่
กันฟังอีกมากมายก่ายกอง (แต่บ้านเราก็ยังมีคนมีความคิดแบบไดโนเสาร์
อีกเยอะ...ฮา) ยุคที่ไดโนเสาร์ครอบครองผืนพิภพนั้น ว่ากันว่ามีสัตว์ประเภท
เลี้ยงลูกด้วยนมเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน...ทำไมถึงรู้ทราบไหมครับ...

ก็พวกนักวิทยาศาสตร์ไงครับ ได้ขุดค้นพบซากฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ไม่ใช่คนแน่)
และพิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์พบว่า...ซากนั้นมีอายุถึง....๑๘๐ ล้านปี โอ้โห...อะไรจะขนาดนั้น แต่นั่นก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก ถ้าเทียบกับขนาดของเจ้าไดโนเสาร์
แต่จะว่าไปก็น่าสงสารเจ้าสัตว์ที่ว่านะครับ เพราะตามตำราเขาบอกว่ามันต้องอยู่แบบหลบๆ
ซ่อนๆ เพราะกลัวไดโนเสาร์จะเอาไปกินนะสิครับ แต่ว่ามันก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายสิบล้านปี
ทีเดียว...แต่ช้าก่อน ไม่ใช่มันมีอายุหลายสิบล้านปีนะ มันดำรงเผ่าพันธุ์ต่างหาก

ช่วงเวลาถัดมานี่เอง ก็เป็นช่วงที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้พัฒนาตัวเองให้มาเป็นผู้ครองโลก
แทน...และรู้ไหมครับว่าเจ้าสัตว์ที่ว่านั่นก็คือบรรพบุรุษของ "ช้าง" ในปัจจุบันนี่เองฮะฮ่าโชคเป็นของเจ้าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ว่านี้ เมื่อมาถึงยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ จะด้วยเหตุใด
มิอาจทราบได้ แต่ว่ากันว่าตอนนั้นมีลูกอุกกาบาตขนาดยักษ์ พุ่งเข้ามาชนโลก...ตูมมมมม ...
เสียงดังสนั่น(ไม่)หวั่นไหว เกิดหมอกควันปกคลุมโลกไปนานแสนนาน ทำให้ไดโนเสาร์ปรับตัว
ไม่ทันสูญพันธุ์ไปจนเกือบหมด ที่เหลือก็ปรับเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดต่อไป หรือสาเหตุอีกประการหนึ่งอาจจะมาจากภูเขาไฟระเบิดก็เป็นได้...




จากการขุดค้นซากฟอสซิลของนักวิทยาศาสตร์ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๔๗๗ ในแถบ
ประเทศอียิปต์ ที่บริเวณทะเลสาบโบราณชื่อว่า "ทะเลสาบโมเออริส" (Moeris) ซึ่ง
อยู่ทางใต้ของกรุงไคโรลงมาประมาณ ๕๗ ไมล์...และพบซากฟอสซิลของบรรพบุรุษ
ช้างโบราณ...จึงได้ตั้งชื่อให้ตามสถานที่ที่ขุดพบนี้ว่า "โมเออธิเทอเรียม"





เป็นยังไงเห็นหน้าตาของบรรพบุรุษช้างแล้ว ไม่ค่อยเหมือนเท่าไรนัก ดูคล้ายสุกรหรือหมู
น้อยธรรมดาเสียมากกว่า และตัวค่อนข้างเล็ก หากวัดจากไหล่ถึงปลายเท้าจะสูงเพียง ๒ ฟุตและไม่มีงวงชัดเจนเหมือนช้างในปัจจุบัน แต่จากการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนักวิทยาศาสตร์ก็ชี้ชัดลงไปว่า โมเออธิเทอเรียม นี่แหละที่เป็นบรรพบุรุษของช้างแน่นอน เนื่องจากมีขากรรไกรบนที่พัฒนาให้ใหญ่พอสมควร มีงาเล็กๆ งอกออกมาจากขากรรไกรล่าง ซึ่งเป็นลักษณะของช้างโบราณบางชนิดในระยะหลังๆ ยังๆ ไม่หมด ยังพออีกว่า หัวกะโหลกของช้างตัวนี้ยังมีโพรงอากาศเหมือนช้างสุรินทร์ ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ก็คล้ายคลึงกันหลายประการ ที่แน่ชัดที่สุดคือเลี้ยงลูกด้วยนม

หากไม่สงสัย ย่อมไม่ใช่วิสัยของนักวิทยาศาสตร์ ว่าแล้วพวกเขาก็พากันสันนิษฐานต่อไปว่า
เมื่อ ๖๐ ล้านปีที่ผ่านมา บรรพบุรุษของช้างนี้ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่ลุ่มริมน้ำเอาเป็นว่าตรงไหน
ชื้นแฉะละเป็นอันไช้ได้ มิน่าช้างปัจจุบันก็ชอบเล่นน้ำเช่นกัน

และยังเชื่อกันอีกว่า ช้างในยุคแรกๆ เกือบทั้งหมด มีถิ่นพำนักพักอาศัยอยู่ในทวีปอาฟริกา
ในปัจจุบัน เนื่องจากการขุดค้นพบซากของช้างในบริเวณนั้นมากเหลือเกิน จนกระทั่งต้นสมัย
"ไมโอซีน" (Miocene) หรือเมื่อ ๒๖ ล้านปีมาแล้ว ช้างทั้งหลายแหล่จึงได้อพยพโยกย้ายไปยัง
ที่อื่นของโลกบ้าง ซึ่งนำไปสู่การปรับตัวแยกสายพันธุ์ไปตามสภาพแวดล้อมของช้างแต่ละกลุ่มที่ไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน (ดูไปก็ไม่ต่างจากคนในปัจจุบันเท่าไร)

จุดสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือทวีปเอเชีย ซึ่งในอดีตกาลนานมาแล้ว แผ่นดินทั้งหลายยังเชื่อมเป็นผืน
เดียวกันอยู่ (ยกเว้นทวีปออสเตรเลียกับแอนตาร์ติก) ช้างและสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้ในสมัยนั้นจึงสามารถเดินทางไปได้ทุกหนแห่ง นอกจากอาฟริกาและเอเชียแล้ว ยังมีช้างในแถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือก็มีสัตว์สกุลช้างเข้าไปตั้งรกรากอยู่เช่นกัน พอแผ่นดินเกิดการแยกตัวทำให้ทวีปต่างๆ แยกออกจากกัน อันหมายถึงการสิ้นสุดการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกัน

จากยุคไมโอซีน เรื่อยมา สัตว์จำพวกช้างก็ได้แตกหน่อขยายพันธุ์ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ครั้นพอ
ถึงยุค โมโลซีน (Molocene) หรือเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีก่อน ช้างเหล่านี้กลับเหลืออยู่เพียง
๒ ชนิดคือช้างอาฟริกากับช้างเอเชีย โดยที่ก่อนหน้านี้ ช้างแมมมอธ (Mammoth) ที่กำลังเป็น
ข่าวฮือฮาไปทั่วโลกว่าจะมีการโคลนนิ่งจากซากที่ขุดพบ ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว


อาจเป็นความบังเอิญหรือเรื่องเหลือเชื่อก็ว่าได้ ทันทีที่ผมจะลงมือทำเว็บไซต์เกี่ยวกับ
ช้าง มีอันต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องช้าง ชนิดที่ผมเองก็ยัง "งงง ง"
อยู่เหมือนกัน เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ....
ผมตั้งใจจะค้นคว้าเกี่ยวกับช้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ มีเอกสารอะไรเกี่ยวกับช้างก็เก็บๆ เอาไว้ แต่ยังไม่ได้ใช้งานมันสักที พอมาปีนี้จะลงมือเขียนข้อมูลก็หลั่งไหลเข้ามาจนจับต้นชนปลายไม่ถูก...ก่อนกลับมาเลือกตั้ง สว. ผมไปเจอเพื่อนเก่าแก่สมัยมัธยมนู้นที่หมอชิต เดี๋ยวนี้ทำงานเป็น NGOอยู่เขาใหญ่ สมัยที่เธอไปเรียนธรรมศาสตร์ผมอยู่รามคำแหง ก็ได้ยินข่าวเธอออกประท้วงเพื่อคนด้อยโอกาสเป็นส่วนใหญ่ พอเรียนจบก็ได้ทำงานตามที่ตนชอบ...เลยได้นั่งรถกลับมาด้วยกันพอดีแฟนเธอมาส่ง ก็ถามไถ่ไปมา...บิงโก...มันบังเอิญอย่างเหลือหลาย แฟนเพื่อนผมคือหัวหน้าโครงการวิจัยช้างป่าที่กุยบุรี...ก็ได้พูดคุยเรื่องช้างกันพอหอมปากหอมคอ...
กลับมาถึงบ้านที่ศีขรภูมิ หลังวันเลือกตั้งไปกินก๋วยเตี๋ยวที่ร้านแถวๆ ปราสาทศีขรภูมิ หยิบหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๓ ในร้านมาอ่าน เจอสกู๊ปพิเศษเรื่องแมมมอธอีกใน "ไทยรัฐ ซันเดย์สเปเชียล" ก็เลยขอหนังสือพิมพ์หน้านั้นมาเลย ก็เอามาประกอบการเขียนนี่แหละ เผลอๆ ก็เหมือนลอกทำรายงานส่งครูเลย (ไม่ว่ากันนะครับ)



จากเอกสารและตำราที่ผมมีอยู่บอกว่าเจ้าแมมมอธช้างโบราณที่เพิ่งสูญพันธุ์ไปนั้นเป็นลูกหลานของช้างกลุ่ม "สเตโกดอน" (Stegodont) แต่ก่อนที่จะมาว่าถึงรายละเอียดเรามาดูสายพันธุ์ของช้างอื่นๆ ก่อนจะได้ทราบที่มาที่ไปกันบ้าง


๑. ไดโนเทอเรส (Dinotheres) เป็นสายพันธุ์ของช้างที่ประกอบด้วยหลาย Species และ
ถือว่าเล็กที่สุด ส่วนที่ใหญที่สุดนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีขนาดพอๆ กับช้างอาฟริกาในปัจจุบัน



ลักษณะเด่นของไดโนเทอเรสคือมีงาที่งอกออกมาจากขากรรไกรล่างโค้งเข้าหาหน้าอกตัวเอง และมีชีวิตอยู่บนโลกตั้ง ๒๐ ล้านปีครับ พบในยุโรปและเอเชียอีกต่างหาก

๒. มาสโตดอนชนิดขากรรไกรยาว (Long-jawes Mastodon) มีลักษณะเด่นๆ คือ
มีขากรรไกรล่างยื่นออกมายาวมากและมีงาแบนๆ ออกมา ๑ คู่ ส่วนขากรรไกรบนก็ยาวเช่นกันและยังมีงาอีกคู่หนึ่งงอกออมาด้วยแต่ว่ายาวกว่างาคู่ล่าง รวมแล้วมันมีงาทั้งหมด ๒ คู่ ๔ งา นั่นเอง ส่วนงวงของช้างชนิดนี้จะค่อนข้างสั้น มันมีชีวิตอยู่ตั้งแต่ต้นสมัยไมโอซีนมาจนกระทั่งไพลโอซีนหรือเมื่อหนึ่งล้านปีที่แล้ว

๓. มาสโตดอนชนิดขากรรไกรสั้น (Short-jawes Mastodon) หรือมาสโตดอนแท้
(family Masyonidae) เป็นลักษณะใกล้เคียงกับช้างปัจจุบันมาก ซึ่งบรรพบุรุษของช้างพวกนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ๔๐ ล้านปีก่อน และแตกหน่อสืบพันธุ์วิวัฒนาการเป็นเอกเทศอยู่ในช่วงเดียวกับพวกขากรรไกรยาวข้างบน
ช้างแท้หรือช้างปัจจุบันก็เป็นสายพันธุ์ที่วิวัฒนาการมาจากชนิดนี้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์
ได้ชี้ความแตกต่างของช้างโบราณกับช้างปัจจุบันโดยอาศัย "ฟัน" เป็นหลัก และต้น
ตระกูลของช้างปัจจุบันก็คือพวก "สเตโกดอน" (Stegodont) ที่แปลว่า "ฟันหลังคา"
เนื่องจากฟันของช้างสกุลนี้มีลักษณะหน้าตัดคล้ายกระเบื้องมุงหลังคา








รูปแบบการแสดงของงานช้าง

ถ้าหากท่านสนใจที่จะชมโขลงช้างบ้านนับร้อยเชือก...ต้องการดูวิธีการเซ่นผีปะกำซึ่งเป็น
กรรมวิธีเก่าแก่ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษชาวกูยนานนับศตวรรษ...ต้องการชมประเพณีและ
วิถีความเป็นอยู่ของชาวกูย ท่านไม่ผิดหวังแน่นอนหากได้แวะมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ใน
ช่วงเทศกาล “งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์”

เทศกาลงานช้างของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้น เพื่อ
สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่หลั่งมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังคงผูกเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ โดยในการแสดงนั้นได้จัดแสดงถึงความ
สัมพันธ์ของคนกับช้างไว้เป็นฉากๆ ดังนี้





จ่าโขลง




เป็นฉากที่แสดงให้เห็นถึงโขลงช้างขนาดใหญ่ โดยการนำช้างที่มาร่วมในงานแสดงเกือบ
ทั้งหมดเดินพาเหรดเข้าสู่สนาม และแสดงถึงความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของช้างที่จะต้องมี
ผู้นำคือจ่าโขลงท่านที่ไม่เคยเห็นช้างนับร้อยเชือก ก็จะได้เห็นในงานนี้นี่แหละจะเรียกได้
ว่าเป็นโขลงช้างเอเชียที่มีช้างมากที่สุดก็ว่าได้


กูย หรือ กวย


ท่านจะเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของของชาวกูยเลี้ยงช้าง และในฉากนี้จะเป็นการจำลองวิธี
การเซ่นผีปะกำก่อนที่จะออกไปคล้องช้างในป่าซึ่งในงานนี้ได้เชิญหมอเฒ่าหรือปะกำหลวง
ตัวจริง ผู้ที่เคยจับช้างป่าในป่ามาแล้ว มาแสดงให้เราๆ ท่านๆ ได้ชมกัน (รายละเอียด)



จากป่า...สู่บ้าน


ฉากนี้เป็นการจำลองวิธีวิธีการคล้องช้าง หรือการโพนช้างในปา และเมื่อได้ช้างป่ามาแล้ว
ก็เป็นการฝึกช้างในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และการคอยลุ้นเอา
ใจช่วยในการไล่คล้องช้าง...



ประเพณีของชาวสุรินทร์



การแสดงประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสุรินทร์ให้ได้ชมกัน เช่น การแสดงเรือมอันเร
การเซิ้งบั้งไฟ ประเพณีสงกรานต์ งานแห่พระ และแสดงให้เห็นถึงการใช้ช้างในงาน
ประเพณีต่างๆ ด้วย




บวชนาคและฉลองพระใหม่





แสดงให้เห็นถึงขบวนแห่นาคของชาวสุรินทร์ที่ประกอบด้วยคนและช้าง อีกทั้งการละเล่น
ต่างๆ ในขบวน และในการฉลองพระใหม่ก็จะมีการจัดให้ช้างแช่งขันกีฬา เช่น ช้างวิ่งเร็ว
ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ เป็นฉากที่ตื่นตาและเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมรอบสนาม





พระบารมีปกเกล้า


ฉากนี้เป็นการจัดริ้วขบวนขบวนพยุหยาตราทัพอันเป็นแสนยานุภาพของพระมหากษัตริย์
ที่จะทรงปกป้องบ้านมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยมีช้างเป็นกำลังสำคัญในฉากนี้ถือว่าเป็นฉาก
ที่สวยงามและหาชมได้ยากในปัจจุบัน



อำลาอาลัย








เป็นฉากที่ผู้แสดงและช้างทั้งหมดออกมาร่ำลากับท่านผู้ชม รวมทั้งการร่วมถ่ายภาพเป็น
ที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งในชีวิต ได้เคยมาพบกับความยิ่งใหญ่ของช้างเมืองสุรินทร์ และถือได้ว่า
เป็นฉากที่น่าประทับอีกฉากหนึ่งที่ยากแก่การลบเลือนไปจากความทรงจำ


**หากท่านต้องการมาชมงานแสดงของช้างสามารถมาชมได้ในสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายน
ของทุกปี นอกจากนี้ ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ยังมีการจัดแสดง
ย่อยๆ ในทุกๆ สุดสัปดาห์อีกด้วย อันเป็นอีกหนทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับชาวกูยเพื่อ
ไม่ให้เกิดปัญหาช้างเร่ร่อนอีกต่อไป

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมา

        
 
            จังหวัดสุรินทร์ มีช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณอีกทั้งชาวกวยหรือกูย ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองในอดีตได้จับช้างป่ามาฝึก เพื่อใช้งานในด้านต่างๆเช่น การพาหนะ การขนส่ง รวมถึง ช้างยังมีบทบาทในการประกอบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวกวย ชาวกวยแต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้นระหว่างคนกับช้าง ชาวกวยจึงเลี้ยงช้างในฐานะที่เป็นสัตว์เลี้ยงเสียมากกว่าจะเป็นสัตว์ที่ไว้ใช้งาน การฝึกช้างของชาวกวยจึงเป็นการฝึกช้างให้เชื่องและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าของ ด้วยความเฉลียวฉลาด และความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ของช้างนี้เอง กลุ่มผู้นำในหมู่บ้านได้เล็งเห็น และรวมตัวกันเพื่อแสดงให้คนภายนอกเห็นถึงความผูกพันของคนกับช้างที่สามารถอยู่ร่วมกันและสื่อสารกันได้พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันแสนพิเศษของช้างไทย การแสดงช้างครั้งแรก จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จากความน่ารัก    ความแสนรู้ของช้างสุรินทร์ ในครั้งนั้น ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่สร้างชื่อเสียงและความประทับใจให้แก่ผู้ชมทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก
 บริเวณตอนเหนือของ "จังหวัดสุรินทร์" ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว "กวย" หรือ "ส่วย" นิยมเลี้ยงช้างมาแต่โบราณกลาล เพื่อนำไปใช้ในและพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 58 กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของ "หมู่บ้านช้าง"
        
หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้าง วิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท. (ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุนโดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดงและนำนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาชมการแสดง
         ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่อง เที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาที่สนามกีฬาจังหวัด ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และได้กำหนดจัดงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
        

งานช้างปี 2554

งานช้างและงานกาชาดสุรินทร์ (สุรินทร์)
10 พ.ย. 2554 - 21 พ.ย. 2554
วันที่  17  พฤศจิกายน 2554    
เวลา 14.00 น. - ขบวนแห่รถอาหารช้าง เริ่มจากบริเวณหน้าโรงเรียนสิรินธร
เวลา 18.00 น. - การประกวดขบวนรถอาหารช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์
เวลา 19.00 น. - การประกวดสาวงามเมืองช้าง เวทีกลางกาชาดสุรินทร์ สนามกีฬาศรีณรงค์ อ.เมือง จ.สุรินทร์

วันที่  18 พฤศจิกายน 2554
เวลา 08.00 น. - ขบวนพาเหรดและแห่ช้างกว่า 300 เชือก เริ่มขบวนจากหน้าสถานีรถไฟจังหวัดสุรินทร์
เวลา 09.00 น. - งานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์

วันที่ 18-19  พฤศจิกายน 2554  
เวลา 19.00 น. - งานแสดงแสง สี เสียง ตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ณ บริเวณปราสาทศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

วันที่   19-20  พฤศจิกายน 2554
เวลา 09.00 น. -  การแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ณ สนามแสดงช้าง อ.เมือง จ.สุรินทร์

วันที่  20  พฤศจิกายน 2554
เวลา 05.00 น. -  งานวิ่ง “เมืองช้าง” มินิ-ฮาร์ฟมาราธอน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์  

         สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ โทร 044 512 039
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ โทร. 044511 975
เทศบาลตำบลระแงง อ.ศีขรภูมิ โทร. 044 561 243, 044 560 088
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ โทร.080 464 7333
ททท. สำนักงานสุรินทร์ โทร. 044 514 447-8









โรงแรม ที่พัก

โรงแรม ทองธารินทร์
จองที่พัก โรงแรม ทองธารินทร์ (Thong Tarin Hotel) จังหวัดสุรินทร์ ราคาพิเศษ
http://ido24.org/relaxzy.com/surin/thong_tarin_hotel


โรงแรม ทองธาริน (Thong Tarin Hotel)
จองที่พัก โรงแรม ทองธาริน (Thong Tarin Hotel) จังหวัดสุรินทร์ ราคาพิเศษ
http://www.hotelsthailand.name/isan/thongtarin/


โรงแรม เพชรเกษม แกรนด์ (Petchkasem Grand Hotel)
จองที่พัก โรงแรม เพชรเกษม แกรนด์ (Petchkasem Grand Hotel) จังหวัดสุรินทร์ ราคาพิเศษ
http://www.hotelsthailand.name/isan/petchkasem/




โรงแรม นิมิตรทอง (Nimitthong Hotel)
โรงแรมที่พัก ในจังหวัดสุรินทร์ สงบ เป็นธรรมชาติ ราคาเป็นกันเอง
http://www.nimitthong.th.gs


ระเบียง รีสอร์ท
ตั้งอยู่เลขที่ 45 หมู่ 7 ถนนสุรินทร์-บุรีรัมย์ ตำบล อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000
http://www.lebienresort.com


โรงแรมมณีโรจน์
ตั้งอยู่เลขที่ 11/1 ถนนกรุงศรีใน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000
http://www.maneerotehotel.com


ฝรั่งคอนเน็คชั่น
เป็นร้านอาหารและผับที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ มีบริการบ้านพักให้เช่าและรถจักรยานยนต์ให้เช่า
http://www.farangconnection.com


โรงแรมมาติน่า จังหวัดสุรินทร์
หาที่พัก โรงแรมในจังหวัดสุรินทร์ ต้องที่โรงแรมมาติน่า ธรรมชาติบริสุทธิ์ ห้องพักหรูหราหหลากสไตล์ ราคากันเอง
http://www.martinahotel.com


ฟอร์จูนแมนชั่น
บริการห้องพักรายวัน รายเดือน ในจังหวัดสุรินทร์
http://www.fortunemansion.com


ต้นคูณรีสอร์ท
ห้องพัก รีสอร์ท จังหวัดสุรินทร์ อบอุ่นสบายเหมือนบ้านท่าน ที่พัก จังหวัดสุรินทร์
http://www.thonkoonresort.com