บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน(00012006)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่องของช้าง


๑๓ เดือนมีนาคมของทุกปี ถือว่าเป็นวันช้างไทย ปีนี้จัดเป็นครั้งที่ ๒ หลังจากในปีที่แล้ว
ผมได้เข้าร่วมสัมมนาด้วยที่โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในเดือนนี้เช่นกันหาก
ใครที่ติดตามดูเคเบิลทีวีและสนใจเรื่องราวของช้าง ก็คงจะไม่พลาดการติดตามชมสารคดี
ระดับโลก เกี่ยวกับการขุดซากช้างแมมมอธ
ดูข่าว  เห็นควาญช้างและช้างเดินขบวนในกรุงเทพก็่อดใจหายไม่ได้ ใช่...ไม่มีใครเข้าใจและเห็นใจพวกเขา แม้แต่คนสุรินทร์ด้วยกันเอง...และผมได้เขียนเรื่องราวเหล่านี้เมื่อ ๕ ปีที่ผ่านมาทุกวันก็ยังมีปัญหาเหมือนเดิม
"จากป่าสู่เมืองนะครับ"   ซึ่งผมทำ link ไว้


เสียดายที่พวกเราเกิดไม่ทันยุคไดโนเสาร์ ไม่งั้นคงได้เห็นอะไรดีๆ มาเล่าสู่
กันฟังอีกมากมายก่ายกอง (แต่บ้านเราก็ยังมีคนมีความคิดแบบไดโนเสาร์
อีกเยอะ...ฮา) ยุคที่ไดโนเสาร์ครอบครองผืนพิภพนั้น ว่ากันว่ามีสัตว์ประเภท
เลี้ยงลูกด้วยนมเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน...ทำไมถึงรู้ทราบไหมครับ...

ก็พวกนักวิทยาศาสตร์ไงครับ ได้ขุดค้นพบซากฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ไม่ใช่คนแน่)
และพิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์พบว่า...ซากนั้นมีอายุถึง....๑๘๐ ล้านปี โอ้โห...อะไรจะขนาดนั้น แต่นั่นก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก ถ้าเทียบกับขนาดของเจ้าไดโนเสาร์
แต่จะว่าไปก็น่าสงสารเจ้าสัตว์ที่ว่านะครับ เพราะตามตำราเขาบอกว่ามันต้องอยู่แบบหลบๆ
ซ่อนๆ เพราะกลัวไดโนเสาร์จะเอาไปกินนะสิครับ แต่ว่ามันก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายสิบล้านปี
ทีเดียว...แต่ช้าก่อน ไม่ใช่มันมีอายุหลายสิบล้านปีนะ มันดำรงเผ่าพันธุ์ต่างหาก

ช่วงเวลาถัดมานี่เอง ก็เป็นช่วงที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้พัฒนาตัวเองให้มาเป็นผู้ครองโลก
แทน...และรู้ไหมครับว่าเจ้าสัตว์ที่ว่านั่นก็คือบรรพบุรุษของ "ช้าง" ในปัจจุบันนี่เองฮะฮ่าโชคเป็นของเจ้าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ว่านี้ เมื่อมาถึงยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ จะด้วยเหตุใด
มิอาจทราบได้ แต่ว่ากันว่าตอนนั้นมีลูกอุกกาบาตขนาดยักษ์ พุ่งเข้ามาชนโลก...ตูมมมมม ...
เสียงดังสนั่น(ไม่)หวั่นไหว เกิดหมอกควันปกคลุมโลกไปนานแสนนาน ทำให้ไดโนเสาร์ปรับตัว
ไม่ทันสูญพันธุ์ไปจนเกือบหมด ที่เหลือก็ปรับเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดต่อไป หรือสาเหตุอีกประการหนึ่งอาจจะมาจากภูเขาไฟระเบิดก็เป็นได้...




จากการขุดค้นซากฟอสซิลของนักวิทยาศาสตร์ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๔๗๗ ในแถบ
ประเทศอียิปต์ ที่บริเวณทะเลสาบโบราณชื่อว่า "ทะเลสาบโมเออริส" (Moeris) ซึ่ง
อยู่ทางใต้ของกรุงไคโรลงมาประมาณ ๕๗ ไมล์...และพบซากฟอสซิลของบรรพบุรุษ
ช้างโบราณ...จึงได้ตั้งชื่อให้ตามสถานที่ที่ขุดพบนี้ว่า "โมเออธิเทอเรียม"





เป็นยังไงเห็นหน้าตาของบรรพบุรุษช้างแล้ว ไม่ค่อยเหมือนเท่าไรนัก ดูคล้ายสุกรหรือหมู
น้อยธรรมดาเสียมากกว่า และตัวค่อนข้างเล็ก หากวัดจากไหล่ถึงปลายเท้าจะสูงเพียง ๒ ฟุตและไม่มีงวงชัดเจนเหมือนช้างในปัจจุบัน แต่จากการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนักวิทยาศาสตร์ก็ชี้ชัดลงไปว่า โมเออธิเทอเรียม นี่แหละที่เป็นบรรพบุรุษของช้างแน่นอน เนื่องจากมีขากรรไกรบนที่พัฒนาให้ใหญ่พอสมควร มีงาเล็กๆ งอกออกมาจากขากรรไกรล่าง ซึ่งเป็นลักษณะของช้างโบราณบางชนิดในระยะหลังๆ ยังๆ ไม่หมด ยังพออีกว่า หัวกะโหลกของช้างตัวนี้ยังมีโพรงอากาศเหมือนช้างสุรินทร์ ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ก็คล้ายคลึงกันหลายประการ ที่แน่ชัดที่สุดคือเลี้ยงลูกด้วยนม

หากไม่สงสัย ย่อมไม่ใช่วิสัยของนักวิทยาศาสตร์ ว่าแล้วพวกเขาก็พากันสันนิษฐานต่อไปว่า
เมื่อ ๖๐ ล้านปีที่ผ่านมา บรรพบุรุษของช้างนี้ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่ลุ่มริมน้ำเอาเป็นว่าตรงไหน
ชื้นแฉะละเป็นอันไช้ได้ มิน่าช้างปัจจุบันก็ชอบเล่นน้ำเช่นกัน

และยังเชื่อกันอีกว่า ช้างในยุคแรกๆ เกือบทั้งหมด มีถิ่นพำนักพักอาศัยอยู่ในทวีปอาฟริกา
ในปัจจุบัน เนื่องจากการขุดค้นพบซากของช้างในบริเวณนั้นมากเหลือเกิน จนกระทั่งต้นสมัย
"ไมโอซีน" (Miocene) หรือเมื่อ ๒๖ ล้านปีมาแล้ว ช้างทั้งหลายแหล่จึงได้อพยพโยกย้ายไปยัง
ที่อื่นของโลกบ้าง ซึ่งนำไปสู่การปรับตัวแยกสายพันธุ์ไปตามสภาพแวดล้อมของช้างแต่ละกลุ่มที่ไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน (ดูไปก็ไม่ต่างจากคนในปัจจุบันเท่าไร)

จุดสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือทวีปเอเชีย ซึ่งในอดีตกาลนานมาแล้ว แผ่นดินทั้งหลายยังเชื่อมเป็นผืน
เดียวกันอยู่ (ยกเว้นทวีปออสเตรเลียกับแอนตาร์ติก) ช้างและสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้ในสมัยนั้นจึงสามารถเดินทางไปได้ทุกหนแห่ง นอกจากอาฟริกาและเอเชียแล้ว ยังมีช้างในแถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือก็มีสัตว์สกุลช้างเข้าไปตั้งรกรากอยู่เช่นกัน พอแผ่นดินเกิดการแยกตัวทำให้ทวีปต่างๆ แยกออกจากกัน อันหมายถึงการสิ้นสุดการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกัน

จากยุคไมโอซีน เรื่อยมา สัตว์จำพวกช้างก็ได้แตกหน่อขยายพันธุ์ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ครั้นพอ
ถึงยุค โมโลซีน (Molocene) หรือเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีก่อน ช้างเหล่านี้กลับเหลืออยู่เพียง
๒ ชนิดคือช้างอาฟริกากับช้างเอเชีย โดยที่ก่อนหน้านี้ ช้างแมมมอธ (Mammoth) ที่กำลังเป็น
ข่าวฮือฮาไปทั่วโลกว่าจะมีการโคลนนิ่งจากซากที่ขุดพบ ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว


อาจเป็นความบังเอิญหรือเรื่องเหลือเชื่อก็ว่าได้ ทันทีที่ผมจะลงมือทำเว็บไซต์เกี่ยวกับ
ช้าง มีอันต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องช้าง ชนิดที่ผมเองก็ยัง "งงง ง"
อยู่เหมือนกัน เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ....
ผมตั้งใจจะค้นคว้าเกี่ยวกับช้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ มีเอกสารอะไรเกี่ยวกับช้างก็เก็บๆ เอาไว้ แต่ยังไม่ได้ใช้งานมันสักที พอมาปีนี้จะลงมือเขียนข้อมูลก็หลั่งไหลเข้ามาจนจับต้นชนปลายไม่ถูก...ก่อนกลับมาเลือกตั้ง สว. ผมไปเจอเพื่อนเก่าแก่สมัยมัธยมนู้นที่หมอชิต เดี๋ยวนี้ทำงานเป็น NGOอยู่เขาใหญ่ สมัยที่เธอไปเรียนธรรมศาสตร์ผมอยู่รามคำแหง ก็ได้ยินข่าวเธอออกประท้วงเพื่อคนด้อยโอกาสเป็นส่วนใหญ่ พอเรียนจบก็ได้ทำงานตามที่ตนชอบ...เลยได้นั่งรถกลับมาด้วยกันพอดีแฟนเธอมาส่ง ก็ถามไถ่ไปมา...บิงโก...มันบังเอิญอย่างเหลือหลาย แฟนเพื่อนผมคือหัวหน้าโครงการวิจัยช้างป่าที่กุยบุรี...ก็ได้พูดคุยเรื่องช้างกันพอหอมปากหอมคอ...
กลับมาถึงบ้านที่ศีขรภูมิ หลังวันเลือกตั้งไปกินก๋วยเตี๋ยวที่ร้านแถวๆ ปราสาทศีขรภูมิ หยิบหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๓ ในร้านมาอ่าน เจอสกู๊ปพิเศษเรื่องแมมมอธอีกใน "ไทยรัฐ ซันเดย์สเปเชียล" ก็เลยขอหนังสือพิมพ์หน้านั้นมาเลย ก็เอามาประกอบการเขียนนี่แหละ เผลอๆ ก็เหมือนลอกทำรายงานส่งครูเลย (ไม่ว่ากันนะครับ)



จากเอกสารและตำราที่ผมมีอยู่บอกว่าเจ้าแมมมอธช้างโบราณที่เพิ่งสูญพันธุ์ไปนั้นเป็นลูกหลานของช้างกลุ่ม "สเตโกดอน" (Stegodont) แต่ก่อนที่จะมาว่าถึงรายละเอียดเรามาดูสายพันธุ์ของช้างอื่นๆ ก่อนจะได้ทราบที่มาที่ไปกันบ้าง


๑. ไดโนเทอเรส (Dinotheres) เป็นสายพันธุ์ของช้างที่ประกอบด้วยหลาย Species และ
ถือว่าเล็กที่สุด ส่วนที่ใหญที่สุดนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีขนาดพอๆ กับช้างอาฟริกาในปัจจุบัน



ลักษณะเด่นของไดโนเทอเรสคือมีงาที่งอกออกมาจากขากรรไกรล่างโค้งเข้าหาหน้าอกตัวเอง และมีชีวิตอยู่บนโลกตั้ง ๒๐ ล้านปีครับ พบในยุโรปและเอเชียอีกต่างหาก

๒. มาสโตดอนชนิดขากรรไกรยาว (Long-jawes Mastodon) มีลักษณะเด่นๆ คือ
มีขากรรไกรล่างยื่นออกมายาวมากและมีงาแบนๆ ออกมา ๑ คู่ ส่วนขากรรไกรบนก็ยาวเช่นกันและยังมีงาอีกคู่หนึ่งงอกออมาด้วยแต่ว่ายาวกว่างาคู่ล่าง รวมแล้วมันมีงาทั้งหมด ๒ คู่ ๔ งา นั่นเอง ส่วนงวงของช้างชนิดนี้จะค่อนข้างสั้น มันมีชีวิตอยู่ตั้งแต่ต้นสมัยไมโอซีนมาจนกระทั่งไพลโอซีนหรือเมื่อหนึ่งล้านปีที่แล้ว

๓. มาสโตดอนชนิดขากรรไกรสั้น (Short-jawes Mastodon) หรือมาสโตดอนแท้
(family Masyonidae) เป็นลักษณะใกล้เคียงกับช้างปัจจุบันมาก ซึ่งบรรพบุรุษของช้างพวกนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ๔๐ ล้านปีก่อน และแตกหน่อสืบพันธุ์วิวัฒนาการเป็นเอกเทศอยู่ในช่วงเดียวกับพวกขากรรไกรยาวข้างบน
ช้างแท้หรือช้างปัจจุบันก็เป็นสายพันธุ์ที่วิวัฒนาการมาจากชนิดนี้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์
ได้ชี้ความแตกต่างของช้างโบราณกับช้างปัจจุบันโดยอาศัย "ฟัน" เป็นหลัก และต้น
ตระกูลของช้างปัจจุบันก็คือพวก "สเตโกดอน" (Stegodont) ที่แปลว่า "ฟันหลังคา"
เนื่องจากฟันของช้างสกุลนี้มีลักษณะหน้าตัดคล้ายกระเบื้องมุงหลังคา








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น