บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน(00012006)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

รูปแบบการแสดงของงานช้าง

ถ้าหากท่านสนใจที่จะชมโขลงช้างบ้านนับร้อยเชือก...ต้องการดูวิธีการเซ่นผีปะกำซึ่งเป็น
กรรมวิธีเก่าแก่ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษชาวกูยนานนับศตวรรษ...ต้องการชมประเพณีและ
วิถีความเป็นอยู่ของชาวกูย ท่านไม่ผิดหวังแน่นอนหากได้แวะมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ใน
ช่วงเทศกาล “งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์”

เทศกาลงานช้างของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้น เพื่อ
สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่หลั่งมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังคงผูกเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ โดยในการแสดงนั้นได้จัดแสดงถึงความ
สัมพันธ์ของคนกับช้างไว้เป็นฉากๆ ดังนี้





จ่าโขลง




เป็นฉากที่แสดงให้เห็นถึงโขลงช้างขนาดใหญ่ โดยการนำช้างที่มาร่วมในงานแสดงเกือบ
ทั้งหมดเดินพาเหรดเข้าสู่สนาม และแสดงถึงความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของช้างที่จะต้องมี
ผู้นำคือจ่าโขลงท่านที่ไม่เคยเห็นช้างนับร้อยเชือก ก็จะได้เห็นในงานนี้นี่แหละจะเรียกได้
ว่าเป็นโขลงช้างเอเชียที่มีช้างมากที่สุดก็ว่าได้


กูย หรือ กวย


ท่านจะเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของของชาวกูยเลี้ยงช้าง และในฉากนี้จะเป็นการจำลองวิธี
การเซ่นผีปะกำก่อนที่จะออกไปคล้องช้างในป่าซึ่งในงานนี้ได้เชิญหมอเฒ่าหรือปะกำหลวง
ตัวจริง ผู้ที่เคยจับช้างป่าในป่ามาแล้ว มาแสดงให้เราๆ ท่านๆ ได้ชมกัน (รายละเอียด)



จากป่า...สู่บ้าน


ฉากนี้เป็นการจำลองวิธีวิธีการคล้องช้าง หรือการโพนช้างในปา และเมื่อได้ช้างป่ามาแล้ว
ก็เป็นการฝึกช้างในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และการคอยลุ้นเอา
ใจช่วยในการไล่คล้องช้าง...



ประเพณีของชาวสุรินทร์



การแสดงประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสุรินทร์ให้ได้ชมกัน เช่น การแสดงเรือมอันเร
การเซิ้งบั้งไฟ ประเพณีสงกรานต์ งานแห่พระ และแสดงให้เห็นถึงการใช้ช้างในงาน
ประเพณีต่างๆ ด้วย




บวชนาคและฉลองพระใหม่





แสดงให้เห็นถึงขบวนแห่นาคของชาวสุรินทร์ที่ประกอบด้วยคนและช้าง อีกทั้งการละเล่น
ต่างๆ ในขบวน และในการฉลองพระใหม่ก็จะมีการจัดให้ช้างแช่งขันกีฬา เช่น ช้างวิ่งเร็ว
ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ เป็นฉากที่ตื่นตาและเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมรอบสนาม





พระบารมีปกเกล้า


ฉากนี้เป็นการจัดริ้วขบวนขบวนพยุหยาตราทัพอันเป็นแสนยานุภาพของพระมหากษัตริย์
ที่จะทรงปกป้องบ้านมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยมีช้างเป็นกำลังสำคัญในฉากนี้ถือว่าเป็นฉาก
ที่สวยงามและหาชมได้ยากในปัจจุบัน



อำลาอาลัย








เป็นฉากที่ผู้แสดงและช้างทั้งหมดออกมาร่ำลากับท่านผู้ชม รวมทั้งการร่วมถ่ายภาพเป็น
ที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งในชีวิต ได้เคยมาพบกับความยิ่งใหญ่ของช้างเมืองสุรินทร์ และถือได้ว่า
เป็นฉากที่น่าประทับอีกฉากหนึ่งที่ยากแก่การลบเลือนไปจากความทรงจำ


**หากท่านต้องการมาชมงานแสดงของช้างสามารถมาชมได้ในสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายน
ของทุกปี นอกจากนี้ ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ยังมีการจัดแสดง
ย่อยๆ ในทุกๆ สุดสัปดาห์อีกด้วย อันเป็นอีกหนทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับชาวกูยเพื่อ
ไม่ให้เกิดปัญหาช้างเร่ร่อนอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น