บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน(00012006)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ถนนสุรินทร์-ปราสาท หมู่ที่ 13 ตำบลเฉนียง มีการจัดแสดงเป็น 4 ส่วน คือ อาคารที่ 1 เป็นโถงทางเข้าและทางเดิน อาคารที่ 2 เป็นส่วนการศึกษา ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องกิจกรรม ห้องรับรอง ห้องสมุด อาคารที่ 3 เป็นอาคารจัดแสดงและสำนักงาน ประกอบด้วย ห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ อาคารที่ 4 เป็นคลังพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย ห้องคลังโบราณวัตถุ ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์และสงวนรักษา เนื้อหาการจัดแสดงในห้องนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นช่วยค้นคว้าและรวบ รวม โดยการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 5 เรื่อง คือ ธรรมชาติวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์เมือง ชาติพันธุ์วิทยา และมรดกดีเด่นประจำจังหวัด โดยจัดแสดงในอาคารที่ 3 ดังนี้
ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาในด้านต่างๆ ประวัติศาสตร์โบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ประวัติศาสตร์เมืองตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน และมรดกดีเด่นในเรื่องการเลี้ยงช้าง
ชั้นบน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเขมร ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายกูย และชาวไทยโคราช ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และมรดกดีเด่นในงานหัตถกรรมและศิลปะการแสดงพื้นบ้านในด้านต่างๆ
1. ธรรมชาติวิทยา ในส่วนนี้จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์ เนื้อหาประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องข้าวและการทำนาด้วย เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีแห่งหนึ่ง โดยใช้เทคนิคการจัดแสดงที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจเนื้อหา และเกิดความเพลิดเพลินในการเข้าชม
2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่เมื่อ ประมาณ 2,000 - 1,500 ปีมาแล้ว สมัยวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 สมัยวัฒนธรรมขอมมีอายุประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 จนถึงสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง-อยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 24 ในการจัดแสดง จะจำลองสภาพชีวิตและพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยทวารวดี ขอม และอยุธยา-ล้านช้าง ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ หุ่นจำลองโบราณสถานประกอบการฉายวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้ชมได้เกิดความเข้าใจในการศึกษาทางด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะที่พบในจังหวัดสุรินทร์
3. ประวัติศาสตร์เมือง เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกูยช่วยจับช้างเผือกที่หลุดมาจากกรุงศรีอยุธยา และได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตย ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดง จะจำลองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการศึกษาในอดีต โดยจำลองลงในตู้จัดแสดง ให้ผู้ชมสามารถซึมซับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ในอดีต จนมาเป็นจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบัน
4. ชาติพันธุ์วิทยา เนื้อหาจะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประกอบด้วยชน 4 กลุ่มใหญ่ คือ ชาวกูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง ชาวเขมร กลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์มานานแล้ว ชาวลาว กลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสุด และชาวไทยโคราช เป็นชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบจังหวัดนครราชสีมา ในการจัดแสดง จะจำลองให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน หุ่นจำลองการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยกูย ไทยเขมร ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยลาวและชาวไทยโคราช ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touchscreen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด 5. มรดกดีเด่น เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงินและการทอผ้าไหม ศิลปการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือมต่างๆ การละเล่นเจรียงแบบต่างๆ รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม และการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในส่วนการจัดแสดง จะใช้หุ่นจำลอง ภาพถ่าย และวีดีทัศน์ เป็นสื่อให้เห็นถึงการผลิตและใช้ประโยชน์จากงานหัตถกรรม หุ่นจำลองและวีดีทัศน์เรื่องการจัดแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านเลี้ยงช้าง และวีดีทัศน์ ให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์ที่มีมาในอดีต และยังคงรับใช้ชุมชนอยู่ในปัจจุบัน โบราณวัตถุที่จัดแสดง จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชและสัตว์ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประติมากรรมและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมเขมร อาวุธโบราณ เครื่องประดับเงิน ผ้าไหม ฯลฯ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4451 3358 หรือ http://www.thailandmuseum.com
ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาในด้านต่างๆ ประวัติศาสตร์โบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ประวัติศาสตร์เมืองตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน และมรดกดีเด่นในเรื่องการเลี้ยงช้าง
ชั้นบน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเขมร ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายกูย และชาวไทยโคราช ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และมรดกดีเด่นในงานหัตถกรรมและศิลปะการแสดงพื้นบ้านในด้านต่างๆ
1. ธรรมชาติวิทยา ในส่วนนี้จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์ เนื้อหาประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องข้าวและการทำนาด้วย เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีแห่งหนึ่ง โดยใช้เทคนิคการจัดแสดงที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจเนื้อหา และเกิดความเพลิดเพลินในการเข้าชม
2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่เมื่อ ประมาณ 2,000 - 1,500 ปีมาแล้ว สมัยวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 สมัยวัฒนธรรมขอมมีอายุประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 จนถึงสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง-อยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 24 ในการจัดแสดง จะจำลองสภาพชีวิตและพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยทวารวดี ขอม และอยุธยา-ล้านช้าง ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ หุ่นจำลองโบราณสถานประกอบการฉายวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้ชมได้เกิดความเข้าใจในการศึกษาทางด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะที่พบในจังหวัดสุรินทร์
3. ประวัติศาสตร์เมือง เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกูยช่วยจับช้างเผือกที่หลุดมาจากกรุงศรีอยุธยา และได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตย ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดง จะจำลองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการศึกษาในอดีต โดยจำลองลงในตู้จัดแสดง ให้ผู้ชมสามารถซึมซับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ในอดีต จนมาเป็นจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบัน
4. ชาติพันธุ์วิทยา เนื้อหาจะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประกอบด้วยชน 4 กลุ่มใหญ่ คือ ชาวกูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง ชาวเขมร กลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์มานานแล้ว ชาวลาว กลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสุด และชาวไทยโคราช เป็นชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบจังหวัดนครราชสีมา ในการจัดแสดง จะจำลองให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน หุ่นจำลองการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยกูย ไทยเขมร ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยลาวและชาวไทยโคราช ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touchscreen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด 5. มรดกดีเด่น เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงินและการทอผ้าไหม ศิลปการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือมต่างๆ การละเล่นเจรียงแบบต่างๆ รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม และการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในส่วนการจัดแสดง จะใช้หุ่นจำลอง ภาพถ่าย และวีดีทัศน์ เป็นสื่อให้เห็นถึงการผลิตและใช้ประโยชน์จากงานหัตถกรรม หุ่นจำลองและวีดีทัศน์เรื่องการจัดแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านเลี้ยงช้าง และวีดีทัศน์ ให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์ที่มีมาในอดีต และยังคงรับใช้ชุมชนอยู่ในปัจจุบัน โบราณวัตถุที่จัดแสดง จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชและสัตว์ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประติมากรรมและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมเขมร อาวุธโบราณ เครื่องประดับเงิน ผ้าไหม ฯลฯ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4451 3358 หรือ http://www.thailandmuseum.com
ปราสาทตะเปียงเตีย (แปลว่า หนองเป็ด)
อำเภอลำดวน จ.สุรินทร์ปราสาท ตะเปียงเตีย (แปลว่า หนองเป็ด) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลโชกเหนือ ภายในบริเวณวัดปราสาทเทพนิมิตร หลักกม. 33-34 ทางหลวงหมายเลข 2077 แยกเข้าทางลูกรังอีก 7 กิโลเมตร ลักษณะปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอดปราสาท 5 ยอด เป็นรูปบัวตูม ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐ ลักษณะการก่อสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบลาว สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์หมู่ บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า"ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ" เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง"จันทร์โสมา" ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทย โบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่าง มารวมกลุ่มกันทำงานทอผ้ายามว่างจากงานไร่งานนา ด้วยการออกแบบลวดลายที่สลับซับซ้อนงดงามและศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกันระหว่างลวดลายการทอแบบราชสำนัก กับเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นบ้าน จนกลายเป็นผ้าทอที่มีความงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว โลก ผลงานที่โดดเด่นของที่นี่คือการได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาล ให้ทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำและผ้าคลุมไหล่สำหรับคู่สมรสผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปกเมื่อปลายปี 2546 จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ"หมู่บ้านทอผ้าเอเปก"และรางวัล OTOP ระดับ 5 ดาว ของประเทศ
ความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง "จันทร์โสมา" เกิดจากการเลือกเส้นไหมน้อยที่เล็กและบางเบานำมาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสีคือสีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแลและสีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทองที่ทำจากเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็กๆปั่นควบกับเส้น ด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนตะกอมากกว่าร้อยตะกอ จนกระทั่งการวางกี่บนพื้นดินธรรมดามีความสูงไม่พอ ต้องขุดดินบริเวณนั้นให้เป็นหลุมลึกไป2-3 เมตร เพื่อรองรับความยาวของตะกอที่ห้อยลงมาจากกี่ให้เป็นระเบียบ ให้คนสามารถอยู่ในหลุมเพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย เนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง 4-5 คน คือจะมีคนช่วยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ 1 คนและคนทออีก 1 คน และความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น
การเดินทางจากตัวเมืองสุรินทร์ใช้เส้นทางหลวงชนบท สร.4026 ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอด
ความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง "จันทร์โสมา" เกิดจากการเลือกเส้นไหมน้อยที่เล็กและบางเบานำมาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสีคือสีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแลและสีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทองที่ทำจากเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็กๆปั่นควบกับเส้น ด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนตะกอมากกว่าร้อยตะกอ จนกระทั่งการวางกี่บนพื้นดินธรรมดามีความสูงไม่พอ ต้องขุดดินบริเวณนั้นให้เป็นหลุมลึกไป2-3 เมตร เพื่อรองรับความยาวของตะกอที่ห้อยลงมาจากกี่ให้เป็นระเบียบ ให้คนสามารถอยู่ในหลุมเพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย เนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง 4-5 คน คือจะมีคนช่วยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ 1 คนและคนทออีก 1 คน และความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น
การเดินทางจากตัวเมืองสุรินทร์ใช้เส้นทางหลวงชนบท สร.4026 ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอด
หมู่บ้านจักสานบ้านบุทม
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์หมู่ บ้านจักสานบ้านบุทม ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองที อำเภอเมือง การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 226 จากตัวเมืองไปทางอำเภอศรีขรภูมิประมาณ 12 กิโลเมตร ในช่วงนอกฤดูทำนาชาวบ้านจะมีอาชีพพิเศษด้วยการสานตะกร้าและภาชนะต่าง ๆ ที่ทำจากหวายเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และเป็นของที่ระลึกเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
ตลาดการค้าช่องจอม
อำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์ตลาด การค้าช่องจอม ตั้งอยู่ที่บ้านด่านพัฒนา ตำบลด่าน ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 69 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวอำเภอกาบเชิง 13 กิโลเมตร เดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายห้วยทับทัน-ห้วยสำราญและประกาศเป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2538 ฝั่งตรงข้ามด้านกัมพูชาเป็นชุมชนโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัยช่องจอมเป็นเส้นทางข้ามแดนที่ใหญ่และสะดวกที่สุดของจังหวัด สุรินทร์ที่จะไปยังกัมพูชา ทำให้มีการติดต่อสัญจรไปมาและซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวไทยและกัมพูชามาเป็น
เวลาช้านาน และเป็นที่มาของแนวความคิดในการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศ
ตลาดแห่งนี้เปิดทำการค้าขายและสัญจรไปมาทุกวันเวลา 8.00-16.00 น. (อนุญาตให้ข้ามแดนเฉพาะคนไทยเท่านั้น) ประเภทสินค้ามีทั้งสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และสิ่งประดิษฐ์จากไม้ เช่น ม้านั่ง หัตถกรรมไม้ เสื่อสานไม้ไผ่ ตะกร้าสานต่าง ๆ
การเดินทาง ใช้เส้นทางสุรินทร์-ช่องจอม ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 69 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอกาบเชิง 13กิโลเมตร
อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์อนุสาวรีย์ พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้สร้างเมืองท่านแรก ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ทางเข้าเมืองสุรินทร์ทางด้านใต้ ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่ถนนสุรินทร์-ปราสาท เป็นบริเวณที่เคยเป็นกำแพงเมืองชั้นในของตัวเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็นการแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถของท่านในการบังคับช้างศึก และเป็นเครื่องแสดงว่าสุรินทร์เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำบรรพ์ รูปปั้นสะพายดาบคู่อยู่บนหลังอันหมายถึงความเป็นนักรบ ความกล้าหาญอันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกของคนสุรินทร์ อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2528
ศาลหลักเมืองสุรินทร์
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์ศาล หลักเมืองสุรินทร์ เป็นสถานที่สำคัญและเป็นที่นับถือคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร เดิมเป็นเพียงศาลไม่มีเสาหลักเมือง มีมานานกว่าร้อยปี เมื่อปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรได้ออกแบบสร้างศาลหลักเมืองใหม่ เสาหลักเมืองเป็นไม้ชัยพฤกษ์มาจากนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเสาไม้สูง 3 เมตร วัดโดยรอบเสาได้ 1 เมตร ทำพิธียกเสาหลักเมืองและสมโภช เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2517
วัดบูรพาราม
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์วัด บูรพาราม ตั้งอยู่ที่ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง ใกล้กับศาลากลางจังหวัด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของ จังหวัด คือ หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม นอกจากนี้ผู้มาเยือนยังได้แวะนมัสการรูปเหมือนหลวงปู่ดูลย์ อตุโลอีกด้วยวัดบูรพารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี หรือในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ 200 ปี เท่ากับอายุเมืองสุรินทร์ สร้างโดยพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดบูรพารามขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520
วนอุทยานพนมสวาย
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์วนอุทยาน พนมสวาย เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูนขึ้นถึงวัด มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคลปางประทานพร ภปร. ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานไว้ ยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ได้จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525 ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นวนอุทยานแล้ว บรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล
หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์หมู่ บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม ตั้งอยู่ที่ตำบลตาอ็อง ทางตะวันออกของตัวเมือง ตามทางสายสุรินทร์-สังขะ (ทางหลวงหมายเลข 2077) ประมาณ กม.ที่ 12 ที่หมู่บ้านจันรมมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกันเอง แล้วนำมาทอเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายและสีแบบโบราณ
ปราสาทภูมิโปน
อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์ปราสาท ภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ-บัวเชด) ตรงต่อไปจนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และก่อศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13 ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้ นั้น สร้างขึ้นในสมัยหลังปราสาทภูมิโปนคงสร้างขึ้น เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน แม้ไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนตร์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเครรพในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับ พื้นห้อง
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ
ปราสาทยายเหงา
อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์ปราสาท ยายเหงา ตั้งอยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมถนนสายโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ระหว่าง กม. 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร เป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐเป็นลวดลายเช่นที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาคห้าเศียรจากลักษณะแผนผังของอาคารน่าจะประกอบด้วยปราสาท 3 องค์ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2 องค์ บริเวณปราสาทพบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้ด้านหน้าปราสาท
การเดินทาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะ ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย-เดชอุดม) ระหว่างกิโลเมตรที่ 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร
การเดินทาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะ ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย-เดชอุดม) ระหว่างกิโลเมตรที่ 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร
ปราสาทบ้านไพล
อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์ปราสาท บ้านไพล ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ประมาณ 22 กิโลเมตร (ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอปราสาท 6 กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปตามถนนลาดยางอีก 3กิโลเมตร ตัวปราสาทมีลักษณะเป็นปรางค์ 3 องค์ สร้างด้วยอิฐขัดตั้งเรียงเป็นแนวเดียวกัน มีคูน้ำล้อมรอบ ยกเว้นทางเข้าด้านทิศตะวันออก แม้ว่าศิวลึงค์และทับหลังบางส่วนจะหายไป แต่จากเศษทับหลังที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ทำให้ทราบว่าปราสาทหลังนี้คงสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16
ปราสาทหินบ้านพลวง
อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์ปราสาท หินบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลกังแอน ห่างจากที่ว่าการอำเภอปราสาท 4 กิโลเมตรตามถนนสายสุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม (ทางหลวงหมายเลข 214) มีทางแยกซ้ายมือที่กม. 34-35ไปอีกราว 1 กิโลเมตร ปราสาทหินบ้านพลวงเป็นปราสาทหินขนาดเล็กแต่ฝีมือการสลักหินประณีตงดงามมาก ได้รับการขุดแต่งบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยวิธีอนัสติโลซิส คือการรื้อตัวปราสาทลง เสริมความมั่นคง และประกอบขึ้นใหม่ดังเดิม ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้เป็นปรางค์องค์เดียว ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียวส่วนด้านอื่นอีกสามด้านทำเป็นประตู หลอก องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง หินทราย และมีอิฐเป็นวัสดุร่วมก่อสร้างในส่วนบนของปราสาท โบราณสถานแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมจำหลักลายงดงามมาก แต่องค์ปรางค์เหลือเพียงครึ่งเดียว ส่วนยอดหักหายไป มีคูน้ำเป็นรูปตัวยูล้อมรอบ ถัดจากคูน้ำเป็นบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ที่เห็นเป็นคันดิน เดิมคงเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนมาก่อนลักษณะของทับหลังที่พบส่วนมาก สลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ภายในซุ้มเหนือหน้ากาล มีซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ ส่วนทางด้านเหนือสลักเป็นรูปพระกฤษณะฆ่านาค สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นสำหรับพระอินทร์ นอกจากนี้ช่างมักสลักเป็นรูปสัตว์เรียงเป็นแนว เช่น ช้าง กระรอก หมู ลิง และวัว อยู่บนทับหลังสำหรับด้านทิศตะวันออกสลักเป็นรูปพระกฤษณะ ยกภูเขาโควรรธนะและเช่นเดียวกัน มีรูปสลักเป็นรูปสัตว์เล็ก ๆ นอกกรอบหน้าบันอันน่าจะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำต่าง ๆ อยู่มาก ที่ผนังด้านหน้ามีรูปทวารบาลยืนกุมกระบอง ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้คล้ายกับปรางค์น้อยบนเขาพนมรุ้ง ลวดลายเป็นลักษณะศิลปะขอมแบบบาปวน กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 จากลักษณะของฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทางด้านข้างขององค์ปรางค์เหลืออยู่มาก สันนิษฐานว่า แผนผังที่แท้จริงของปราสาทแห่งนี้น่าจะประกอบด้วยปรางค์สามองค์สร้างเรียง กัน แต่อาจยังสร้างไม่เสร็จหรืออาจถูกรื้อออกไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้
ปราสาทหินบ้านพลวงเปิดให้ชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
ปราสาทหินบ้านพลวงเปิดให้ชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
ปราสาทเมืองที
อำเภอเมือง จ.สุรินทร์ปราสาท เมืองที ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที ภายในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ปราสาทเมืองทีเป็นปราสาทแบบเขมรที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลัง เช่นเดียวกับปราสาทศรีขรภูมิ ปราสาทก่อด้วยอิฐฉาบปูน มี 5 หลัง สร้างรวมกันเป็นหมู่บนฐานเดียวกันหลังหนึ่งอยู่ตรงกลาง และอีก 4 หลังอยู่ที่มุมทั้ง 4 ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 หลังซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังกลางมีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ตัวเรือนธาตุตันทึบไม่มีประตูเนื่องจากการดัดแปลง ส่วนหลังคาทำเป็นชั้นมี 3 ชั้นเลียนแบบตัวเรือนธาตุ ส่วนยอดบนหักหาย นับเป็นโบราณสถานเขมรอีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้าง คือ มีปราสาทหลังกลางเทียบเท่าเขาพระสุเมรุ และมีปรางค์มุมทั้งสี่ตามความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์ แต่ไม่พบจารึกหรือลวดลายทางศิลปะที่สามารถบอกว่าสร้างขึ้นเมื่อใด
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-ศรีขรภูมิ ทางหลวงหมายเลข 226 จนถึงบ้านโคกลำดวน เลี้ยวซ้ายเข้าวัดจอมสุทธาวาส
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-ศรีขรภูมิ ทางหลวงหมายเลข 226 จนถึงบ้านโคกลำดวน เลี้ยวซ้ายเข้าวัดจอมสุทธาวาส
ปราสาทศีขรภูมิ
อำเภอศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ปราสาทศีขรภูมิ ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 226 โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปอีก 1 กิโลเมตร ปราสาทศีขรภูมิประกอบด้วยปรางค์อิฐ 5 องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือด้านทิศตะวันออก ปรางค์ทั้งห้าองค์มีลักษณะเหมือนกัน คือ องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีชิ้นส่วนประดับทำจากหินทรายสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ทั้งส่วนที่เป็นทับหลังและเสาประดับกรอบประตู เสาติดผนัง และกลีบขนุนปรางค์ ส่วนหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น องค์ปรางค์ประธานมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเนศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาลส่วนปรางค์บริวารพบทับ หลัง 2 ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นภาพกฤษณาวตาร ทั้งสองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าช้างและคชสีห์ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะฆ่าคชสีห์ จากลวดลายที่เสาและทับหลังขององค์ปรางค์ มีลักษณะปนกันระหว่างรูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวน (พ.ศ. 1550-1650) และแบบนครวัด (พ.ศ. 1650-1700) จึงอาจกล่าวได้วา ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 หรือต้นสมัยนครวัด โดยสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และคงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา ตามที่มีหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ในสมัยอยุธยาตอนปลายปราสาทศีขรภูมิเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชมชาวไทย คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์
อำเภอท่าตูม จ.สุรินทร์หมู่ บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 และ 13 บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม พื้นที่หมู่บ้านเป็นที่นาและป่าละเมาะสลับกับป่าโปร่ง เหมาะกับการเลี้ยงช้างชาวบ้านตากลางดั้งเดิมเป็นชาวส่วย หรือ กูย หรือ กวย มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้างและเลี้ยงช้าง ส่วนมาต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศกัมพูชา ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านไม่สามรถไปคล้องช้างเช่นแต่ ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้างและฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของ จังหวัดทุกปี
การเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลาง ไม่เหมือนการเลี้ยงช้างของชาวภาคเหนือที่เลี้ยงไว้ใช้งาน แต่ชาวบ้านตากลางเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้าท่านได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังได้สัมผัสการดำรงชีวิตของชาวส่วย พร้อมทั้งได้พบปะพูดคุยกับหมอช้างที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้ว และยังสามารถเดินทางไปชมบริเวณที่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนและชวนให้ศึกษาในเชิงธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างขึ้นภายในหมู่บ้านด้วย เพื่อรวบรวมประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับช้าง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง และให้ความรู้ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับช้าง
ชาวบ้านตากลางได้จัดให้มีการแสดงช้างสำหรับนักท่องเที่ยว มีบริการนั่งหลังช้างชมหมู่บ้าน และโฮมสเตย์สำหรับผู้ต้องการพักค้างแรมและเรียนรู้วิถีชีวิตคนกับช้าง ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์คชศึกษาบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม โทร.0 4414 5050,0 4451 1975
การเดินทาง อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางเหนือตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ก่อนถึงอำเภอท่าตูม มีทางแยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 ไปตามทางราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร
การเลี้ยงช้างของชาวบ้านตากลาง ไม่เหมือนการเลี้ยงช้างของชาวภาคเหนือที่เลี้ยงไว้ใช้งาน แต่ชาวบ้านตากลางเลี้ยงช้างไว้เป็นเพื่อน นอนร่วมชายคาเดียวกับตน ดังนั้นถ้าท่านได้ไปที่บ้านตากลาง นอกจากจะได้เห็นสภาพโรงช้างดังกล่าวแล้ว ยังได้สัมผัสการดำรงชีวิตของชาวส่วย พร้อมทั้งได้พบปะพูดคุยกับหมอช้างที่มีประสบการณ์ในการคล้องช้างมาแล้ว และยังสามารถเดินทางไปชมบริเวณที่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกัน ซึ่งห่างออกไปเพียง 3 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่งดงามน่าพักผ่อนและชวนให้ศึกษาในเชิงธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างขึ้นภายในหมู่บ้านด้วย เพื่อรวบรวมประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับช้าง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง และให้ความรู้ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับช้าง
ชาวบ้านตากลางได้จัดให้มีการแสดงช้างสำหรับนักท่องเที่ยว มีบริการนั่งหลังช้างชมหมู่บ้าน และโฮมสเตย์สำหรับผู้ต้องการพักค้างแรมและเรียนรู้วิถีชีวิตคนกับช้าง ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์คชศึกษาบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม โทร.0 4414 5050,0 4451 1975
การเดินทาง อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางเหนือตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ก่อนถึงอำเภอท่าตูม มีทางแยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 36 ไปตามทางราดยางอีกประมาณ 22 กิโลเมตร
หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์
อำเภอเขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์หมู่ บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์ ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองสุรินทร์ ตามทางหลวงหมายเลข 214 (ทางสายสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ไปประมาณ 14 กิโลเมตร แยกขวามือไปอีก 4 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าไหมพื้นเมืองและการผลิตลูกประคำเงิน ที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เรียกกันว่า ลูกปะเกือม นำมาทำเป็นเครื่องประดับของสุภาพสตรีที่สวยงาม มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าในบริเวณหมู่บ้าน ราคาย่อมเยา
โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน
อำเภอพนมดงรัก จ.สุรินทร์โบราณ สถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง เป็นโบราณสถานแบบขอม 3 หลัง ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา ปราสาทตาเมือน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าคือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน 17 แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย ปราสาทตาเมือนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้อยยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนอีกด้านมีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 2-3 ชิ้น
ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพืทธศตวรรษที่ 18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาล ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี
ปราสาทตาเมือนธม อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำ และที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน
การเดินทางจาก จังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก 13 กิโลเมตร
เนื่องจากโบราณสถานกลุ่มนี้ อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชาและสภาพถนนยังเป็นลูกรังขรุขระ นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปชมควรคำนึงถึงความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าว โดยสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่ก่อนเดินทางเข้าไปด้วย
ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพืทธศตวรรษที่ 18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาล ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี
ปราสาทตาเมือนธม อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำ และที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน
การเดินทางจาก จังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ 25 กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก 13 กิโลเมตร
เนื่องจากโบราณสถานกลุ่มนี้ อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชาและสภาพถนนยังเป็นลูกรังขรุขระ นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปชมควรคำนึงถึงความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าว โดยสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานทหารที่ดูแลพื้นที่ก่อนเดินทางเข้าไปด้วย
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง - อำเภอปราสาท 28 กิโลเมตร อำเภอเมือง - อำเภอสังขะ 49 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอศรีขรภูมิ 34 กิโลเมตร อำเภอเมือง - อำเภอสำโรงทาบ 54 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอจอมพระ 26 กิโลเมตร อำเภอเมือง - อำเภอท่าตูม 51 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอชุมพลบุรี 91 กิโลเมตร อำเภอเมือง - อำเภอรัตนบุรี 70 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอสนม 49 กิโลเมตร อำเภอเมือง - อำเภอกาบเชิง 58 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - อำเภอบัวเชด 70 กิโลเมตร อำเภอเมือง - กิ่งอำเภอลำดวน 26 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ 18 กิโลเมตร
อำเภอเมือง - กิ่งอำเภอพนมดงรัก 32 กิโลเมตร
ทางรถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทาง ( บขส ) ทั้งรถธรรมดา รถปรับอากาศชั้น 1 และ รถนอน VIPออกจากสถานีขนส่งสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือใหม่ ( ขนส่งหมอชิตใหม่ ) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมงเท่านั้น ติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่
โทร. 2710101-5 ( รถธรรมดา )และ โทร. 2794484-7 ( รถปรับอากาศ )
การเดินทาง
ทางรถยนต์
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ( ถนนพหลโยธิน ) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ( ถนนมิตรภาพ )ที่จังหวัดสระบุรี เมื่อถึงอำเภอสีคิ้ว
จังหวัดนครราชสีมา จะมีเส้นทางให้ท่านเลือก 2 เส้นทาง เส้นทางแรกเป็นเส้นทางโชคชัย-เดชอุดม ( ทางหลวงหมายเลข 24 ) ผ่านอำเภอนางรอง
จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านอำเภอปราสาทจากอำเภอปราสาทแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ตรงเข้าตัวจังหวัดสุรินทร์รวมระยะทางทั้งสิ้น
450 กิโลเมตร อีกเส้นทางตรงเข้าตัวจังหวัดนครราชสีมา วิ่งไปตามทางหลวงที่จะไปอำเภอด่านเกวียน ก่อนออกจากตัวเมืองนครราชสีมานั้น
จังหวัดนครราชสีมา จะมีเส้นทางให้ท่านเลือก 2 เส้นทาง เส้นทางแรกเป็นเส้นทางโชคชัย-เดชอุดม ( ทางหลวงหมายเลข 24 ) ผ่านอำเภอนางรอง
จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านอำเภอปราสาทจากอำเภอปราสาทแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ตรงเข้าตัวจังหวัดสุรินทร์รวมระยะทางทั้งสิ้น
450 กิโลเมตร อีกเส้นทางตรงเข้าตัวจังหวัดนครราชสีมา วิ่งไปตามทางหลวงที่จะไปอำเภอด่านเกวียน ก่อนออกจากตัวเมืองนครราชสีมานั้น
ให้เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอห้วยแถลง ตรงเข้าจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อวิ่งเข้าสู่จังหวัดสุรินทร์
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
เรื่องของช้าง
๑๓ เดือนมีนาคมของทุกปี ถือว่าเป็นวันช้างไทย ปีนี้จัดเป็นครั้งที่ ๒ หลังจากในปีที่แล้ว
ผมได้เข้าร่วมสัมมนาด้วยที่โรงแรมทองธารินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในเดือนนี้เช่นกันหาก
ใครที่ติดตามดูเคเบิลทีวีและสนใจเรื่องราวของช้าง ก็คงจะไม่พลาดการติดตามชมสารคดี
ระดับโลก เกี่ยวกับการขุดซากช้างแมมมอธ
ดูข่าว เห็นควาญช้างและช้างเดินขบวนในกรุงเทพก็่อดใจหายไม่ได้ ใช่...ไม่มีใครเข้าใจและเห็นใจพวกเขา แม้แต่คนสุรินทร์ด้วยกันเอง...และผมได้เขียนเรื่องราวเหล่านี้เมื่อ ๕ ปีที่ผ่านมาทุกวันก็ยังมีปัญหาเหมือนเดิม"จากป่าสู่เมืองนะครับ" ซึ่งผมทำ link ไว้
เสียดายที่พวกเราเกิดไม่ทันยุคไดโนเสาร์ ไม่งั้นคงได้เห็นอะไรดีๆ มาเล่าสู่
กันฟังอีกมากมายก่ายกอง (แต่บ้านเราก็ยังมีคนมีความคิดแบบไดโนเสาร์
อีกเยอะ...ฮา) ยุคที่ไดโนเสาร์ครอบครองผืนพิภพนั้น ว่ากันว่ามีสัตว์ประเภท
เลี้ยงลูกด้วยนมเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน...ทำไมถึงรู้ทราบไหมครับ...
ก็พวกนักวิทยาศาสตร์ไงครับ ได้ขุดค้นพบซากฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ไม่ใช่คนแน่)
และพิสูจน์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์พบว่า...ซากนั้นมีอายุถึง....๑๘๐ ล้านปี โอ้โห...อะไรจะขนาดนั้น แต่นั่นก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก ถ้าเทียบกับขนาดของเจ้าไดโนเสาร์
แต่จะว่าไปก็น่าสงสารเจ้าสัตว์ที่ว่านะครับ เพราะตามตำราเขาบอกว่ามันต้องอยู่แบบหลบๆ
ซ่อนๆ เพราะกลัวไดโนเสาร์จะเอาไปกินนะสิครับ แต่ว่ามันก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายสิบล้านปี
ทีเดียว...แต่ช้าก่อน ไม่ใช่มันมีอายุหลายสิบล้านปีนะ มันดำรงเผ่าพันธุ์ต่างหาก
ช่วงเวลาถัดมานี่เอง ก็เป็นช่วงที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้พัฒนาตัวเองให้มาเป็นผู้ครองโลก
แทน...และรู้ไหมครับว่าเจ้าสัตว์ที่ว่านั่นก็คือบรรพบุรุษของ "ช้าง" ในปัจจุบันนี่เองฮะฮ่าโชคเป็นของเจ้าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ว่านี้ เมื่อมาถึงยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ จะด้วยเหตุใด
มิอาจทราบได้ แต่ว่ากันว่าตอนนั้นมีลูกอุกกาบาตขนาดยักษ์ พุ่งเข้ามาชนโลก...ตูมมมมม ...
เสียงดังสนั่น(ไม่)หวั่นไหว เกิดหมอกควันปกคลุมโลกไปนานแสนนาน ทำให้ไดโนเสาร์ปรับตัว
ไม่ทันสูญพันธุ์ไปจนเกือบหมด ที่เหลือก็ปรับเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดต่อไป หรือสาเหตุอีกประการหนึ่งอาจจะมาจากภูเขาไฟระเบิดก็เป็นได้...
จากการขุดค้นซากฟอสซิลของนักวิทยาศาสตร์ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๔๗๗ ในแถบ
ประเทศอียิปต์ ที่บริเวณทะเลสาบโบราณชื่อว่า "ทะเลสาบโมเออริส" (Moeris) ซึ่ง
อยู่ทางใต้ของกรุงไคโรลงมาประมาณ ๕๗ ไมล์...และพบซากฟอสซิลของบรรพบุรุษ
ช้างโบราณ...จึงได้ตั้งชื่อให้ตามสถานที่ที่ขุดพบนี้ว่า "โมเออธิเทอเรียม"
เป็นยังไงเห็นหน้าตาของบรรพบุรุษช้างแล้ว ไม่ค่อยเหมือนเท่าไรนัก ดูคล้ายสุกรหรือหมู
น้อยธรรมดาเสียมากกว่า และตัวค่อนข้างเล็ก หากวัดจากไหล่ถึงปลายเท้าจะสูงเพียง ๒ ฟุตและไม่มีงวงชัดเจนเหมือนช้างในปัจจุบัน แต่จากการศึกษาและวิเคราะห์แล้วนักวิทยาศาสตร์ก็ชี้ชัดลงไปว่า โมเออธิเทอเรียม นี่แหละที่เป็นบรรพบุรุษของช้างแน่นอน เนื่องจากมีขากรรไกรบนที่พัฒนาให้ใหญ่พอสมควร มีงาเล็กๆ งอกออกมาจากขากรรไกรล่าง ซึ่งเป็นลักษณะของช้างโบราณบางชนิดในระยะหลังๆ ยังๆ ไม่หมด ยังพออีกว่า หัวกะโหลกของช้างตัวนี้ยังมีโพรงอากาศเหมือนช้างสุรินทร์ ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ก็คล้ายคลึงกันหลายประการ ที่แน่ชัดที่สุดคือเลี้ยงลูกด้วยนม
หากไม่สงสัย ย่อมไม่ใช่วิสัยของนักวิทยาศาสตร์ ว่าแล้วพวกเขาก็พากันสันนิษฐานต่อไปว่า
เมื่อ ๖๐ ล้านปีที่ผ่านมา บรรพบุรุษของช้างนี้ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่ลุ่มริมน้ำเอาเป็นว่าตรงไหน
ชื้นแฉะละเป็นอันไช้ได้ มิน่าช้างปัจจุบันก็ชอบเล่นน้ำเช่นกัน
และยังเชื่อกันอีกว่า ช้างในยุคแรกๆ เกือบทั้งหมด มีถิ่นพำนักพักอาศัยอยู่ในทวีปอาฟริกา
ในปัจจุบัน เนื่องจากการขุดค้นพบซากของช้างในบริเวณนั้นมากเหลือเกิน จนกระทั่งต้นสมัย
"ไมโอซีน" (Miocene) หรือเมื่อ ๒๖ ล้านปีมาแล้ว ช้างทั้งหลายแหล่จึงได้อพยพโยกย้ายไปยัง
ที่อื่นของโลกบ้าง ซึ่งนำไปสู่การปรับตัวแยกสายพันธุ์ไปตามสภาพแวดล้อมของช้างแต่ละกลุ่มที่ไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน (ดูไปก็ไม่ต่างจากคนในปัจจุบันเท่าไร)
จุดสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือทวีปเอเชีย ซึ่งในอดีตกาลนานมาแล้ว แผ่นดินทั้งหลายยังเชื่อมเป็นผืน
เดียวกันอยู่ (ยกเว้นทวีปออสเตรเลียกับแอนตาร์ติก) ช้างและสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้ในสมัยนั้นจึงสามารถเดินทางไปได้ทุกหนแห่ง นอกจากอาฟริกาและเอเชียแล้ว ยังมีช้างในแถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือก็มีสัตว์สกุลช้างเข้าไปตั้งรกรากอยู่เช่นกัน พอแผ่นดินเกิดการแยกตัวทำให้ทวีปต่างๆ แยกออกจากกัน อันหมายถึงการสิ้นสุดการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกัน
จากยุคไมโอซีน เรื่อยมา สัตว์จำพวกช้างก็ได้แตกหน่อขยายพันธุ์ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ครั้นพอ
ถึงยุค โมโลซีน (Molocene) หรือเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีก่อน ช้างเหล่านี้กลับเหลืออยู่เพียง
๒ ชนิดคือช้างอาฟริกากับช้างเอเชีย โดยที่ก่อนหน้านี้ ช้างแมมมอธ (Mammoth) ที่กำลังเป็น
ข่าวฮือฮาไปทั่วโลกว่าจะมีการโคลนนิ่งจากซากที่ขุดพบ ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
อาจเป็นความบังเอิญหรือเรื่องเหลือเชื่อก็ว่าได้ ทันทีที่ผมจะลงมือทำเว็บไซต์เกี่ยวกับ
ช้าง มีอันต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องช้าง ชนิดที่ผมเองก็ยัง "งงง ง"
อยู่เหมือนกัน เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ....
ผมตั้งใจจะค้นคว้าเกี่ยวกับช้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ มีเอกสารอะไรเกี่ยวกับช้างก็เก็บๆ เอาไว้ แต่ยังไม่ได้ใช้งานมันสักที พอมาปีนี้จะลงมือเขียนข้อมูลก็หลั่งไหลเข้ามาจนจับต้นชนปลายไม่ถูก...ก่อนกลับมาเลือกตั้ง สว. ผมไปเจอเพื่อนเก่าแก่สมัยมัธยมนู้นที่หมอชิต เดี๋ยวนี้ทำงานเป็น NGOอยู่เขาใหญ่ สมัยที่เธอไปเรียนธรรมศาสตร์ผมอยู่รามคำแหง ก็ได้ยินข่าวเธอออกประท้วงเพื่อคนด้อยโอกาสเป็นส่วนใหญ่ พอเรียนจบก็ได้ทำงานตามที่ตนชอบ...เลยได้นั่งรถกลับมาด้วยกันพอดีแฟนเธอมาส่ง ก็ถามไถ่ไปมา...บิงโก...มันบังเอิญอย่างเหลือหลาย แฟนเพื่อนผมคือหัวหน้าโครงการวิจัยช้างป่าที่กุยบุรี...ก็ได้พูดคุยเรื่องช้างกันพอหอมปากหอมคอ...
กลับมาถึงบ้านที่ศีขรภูมิ หลังวันเลือกตั้งไปกินก๋วยเตี๋ยวที่ร้านแถวๆ ปราสาทศีขรภูมิ หยิบหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๓ ในร้านมาอ่าน เจอสกู๊ปพิเศษเรื่องแมมมอธอีกใน "ไทยรัฐ ซันเดย์สเปเชียล" ก็เลยขอหนังสือพิมพ์หน้านั้นมาเลย ก็เอามาประกอบการเขียนนี่แหละ เผลอๆ ก็เหมือนลอกทำรายงานส่งครูเลย (ไม่ว่ากันนะครับ)
จากเอกสารและตำราที่ผมมีอยู่บอกว่าเจ้าแมมมอธช้างโบราณที่เพิ่งสูญพันธุ์ไปนั้นเป็นลูกหลานของช้างกลุ่ม "สเตโกดอน" (Stegodont) แต่ก่อนที่จะมาว่าถึงรายละเอียดเรามาดูสายพันธุ์ของช้างอื่นๆ ก่อนจะได้ทราบที่มาที่ไปกันบ้าง ๑. ไดโนเทอเรส (Dinotheres) เป็นสายพันธุ์ของช้างที่ประกอบด้วยหลาย Species และ ถือว่าเล็กที่สุด ส่วนที่ใหญที่สุดนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีขนาดพอๆ กับช้างอาฟริกาในปัจจุบัน |
|
ได้ชี้ความแตกต่างของช้างโบราณกับช้างปัจจุบันโดยอาศัย "ฟัน" เป็นหลัก และต้น
ตระกูลของช้างปัจจุบันก็คือพวก "สเตโกดอน" (Stegodont) ที่แปลว่า "ฟันหลังคา"
เนื่องจากฟันของช้างสกุลนี้มีลักษณะหน้าตัดคล้ายกระเบื้องมุงหลังคา
รูปแบบการแสดงของงานช้าง
ถ้าหากท่านสนใจที่จะชมโขลงช้างบ้านนับร้อยเชือก...ต้องการดูวิธีการเซ่นผีปะกำซึ่งเป็น
กรรมวิธีเก่าแก่ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษชาวกูยนานนับศตวรรษ...ต้องการชมประเพณีและ
วิถีความเป็นอยู่ของชาวกูย ท่านไม่ผิดหวังแน่นอนหากได้แวะมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ใน
ช่วงเทศกาล “งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์”
เทศกาลงานช้างของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้น เพื่อ
สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่หลั่งมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังคงผูกเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ โดยในการแสดงนั้นได้จัดแสดงถึงความ
สัมพันธ์ของคนกับช้างไว้เป็นฉากๆ ดังนี้
เป็นฉากที่แสดงให้เห็นถึงโขลงช้างขนาดใหญ่ โดยการนำช้างที่มาร่วมในงานแสดงเกือบ
ทั้งหมดเดินพาเหรดเข้าสู่สนาม และแสดงถึงความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของช้างที่จะต้องมี
ผู้นำคือจ่าโขลงท่านที่ไม่เคยเห็นช้างนับร้อยเชือก ก็จะได้เห็นในงานนี้นี่แหละจะเรียกได้
ว่าเป็นโขลงช้างเอเชียที่มีช้างมากที่สุดก็ว่าได้
ท่านจะเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของของชาวกูยเลี้ยงช้าง และในฉากนี้จะเป็นการจำลองวิธี
การเซ่นผีปะกำก่อนที่จะออกไปคล้องช้างในป่าซึ่งในงานนี้ได้เชิญหมอเฒ่าหรือปะกำหลวง
ตัวจริง ผู้ที่เคยจับช้างป่าในป่ามาแล้ว มาแสดงให้เราๆ ท่านๆ ได้ชมกัน (รายละเอียด)
ฉากนี้เป็นการจำลองวิธีวิธีการคล้องช้าง หรือการโพนช้างในปา และเมื่อได้ช้างป่ามาแล้ว
ก็เป็นการฝึกช้างในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และการคอยลุ้นเอา
ใจช่วยในการไล่คล้องช้าง...
การแสดงประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสุรินทร์ให้ได้ชมกัน เช่น การแสดงเรือมอันเร
การเซิ้งบั้งไฟ ประเพณีสงกรานต์ งานแห่พระ และแสดงให้เห็นถึงการใช้ช้างในงาน
ประเพณีต่างๆ ด้วย
แสดงให้เห็นถึงขบวนแห่นาคของชาวสุรินทร์ที่ประกอบด้วยคนและช้าง อีกทั้งการละเล่น
ต่างๆ ในขบวน และในการฉลองพระใหม่ก็จะมีการจัดให้ช้างแช่งขันกีฬา เช่น ช้างวิ่งเร็ว
ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ เป็นฉากที่ตื่นตาและเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมรอบสนาม
ฉากนี้เป็นการจัดริ้วขบวนขบวนพยุหยาตราทัพอันเป็นแสนยานุภาพของพระมหากษัตริย์
ที่จะทรงปกป้องบ้านมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยมีช้างเป็นกำลังสำคัญในฉากนี้ถือว่าเป็นฉาก
ที่สวยงามและหาชมได้ยากในปัจจุบัน
เป็นฉากที่ผู้แสดงและช้างทั้งหมดออกมาร่ำลากับท่านผู้ชม รวมทั้งการร่วมถ่ายภาพเป็น
ที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งในชีวิต ได้เคยมาพบกับความยิ่งใหญ่ของช้างเมืองสุรินทร์ และถือได้ว่า
เป็นฉากที่น่าประทับอีกฉากหนึ่งที่ยากแก่การลบเลือนไปจากความทรงจำ
**หากท่านต้องการมาชมงานแสดงของช้างสามารถมาชมได้ในสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายน
ของทุกปี นอกจากนี้ ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ยังมีการจัดแสดง
ย่อยๆ ในทุกๆ สุดสัปดาห์อีกด้วย อันเป็นอีกหนทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับชาวกูยเพื่อ
ไม่ให้เกิดปัญหาช้างเร่ร่อนอีกต่อไป
กรรมวิธีเก่าแก่ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษชาวกูยนานนับศตวรรษ...ต้องการชมประเพณีและ
วิถีความเป็นอยู่ของชาวกูย ท่านไม่ผิดหวังแน่นอนหากได้แวะมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ใน
ช่วงเทศกาล “งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์”
เทศกาลงานช้างของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้น เพื่อ
สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่หลั่งมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังคงผูกเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ โดยในการแสดงนั้นได้จัดแสดงถึงความ
สัมพันธ์ของคนกับช้างไว้เป็นฉากๆ ดังนี้
จ่าโขลง
เป็นฉากที่แสดงให้เห็นถึงโขลงช้างขนาดใหญ่ โดยการนำช้างที่มาร่วมในงานแสดงเกือบ
ทั้งหมดเดินพาเหรดเข้าสู่สนาม และแสดงถึงความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของช้างที่จะต้องมี
ผู้นำคือจ่าโขลงท่านที่ไม่เคยเห็นช้างนับร้อยเชือก ก็จะได้เห็นในงานนี้นี่แหละจะเรียกได้
ว่าเป็นโขลงช้างเอเชียที่มีช้างมากที่สุดก็ว่าได้
กูย หรือ กวย
การเซ่นผีปะกำก่อนที่จะออกไปคล้องช้างในป่าซึ่งในงานนี้ได้เชิญหมอเฒ่าหรือปะกำหลวง
ตัวจริง ผู้ที่เคยจับช้างป่าในป่ามาแล้ว มาแสดงให้เราๆ ท่านๆ ได้ชมกัน (รายละเอียด)
จากป่า...สู่บ้าน
ก็เป็นการฝึกช้างในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และการคอยลุ้นเอา
ใจช่วยในการไล่คล้องช้าง...
ประเพณีของชาวสุรินทร์
การเซิ้งบั้งไฟ ประเพณีสงกรานต์ งานแห่พระ และแสดงให้เห็นถึงการใช้ช้างในงาน
ประเพณีต่างๆ ด้วย
บวชนาคและฉลองพระใหม่
แสดงให้เห็นถึงขบวนแห่นาคของชาวสุรินทร์ที่ประกอบด้วยคนและช้าง อีกทั้งการละเล่น
ต่างๆ ในขบวน และในการฉลองพระใหม่ก็จะมีการจัดให้ช้างแช่งขันกีฬา เช่น ช้างวิ่งเร็ว
ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ เป็นฉากที่ตื่นตาและเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมรอบสนาม
พระบารมีปกเกล้า
ที่จะทรงปกป้องบ้านมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยมีช้างเป็นกำลังสำคัญในฉากนี้ถือว่าเป็นฉาก
ที่สวยงามและหาชมได้ยากในปัจจุบัน
อำลาอาลัย
เป็นฉากที่ผู้แสดงและช้างทั้งหมดออกมาร่ำลากับท่านผู้ชม รวมทั้งการร่วมถ่ายภาพเป็น
ที่ระลึกว่าครั้งหนึ่งในชีวิต ได้เคยมาพบกับความยิ่งใหญ่ของช้างเมืองสุรินทร์ และถือได้ว่า
เป็นฉากที่น่าประทับอีกฉากหนึ่งที่ยากแก่การลบเลือนไปจากความทรงจำ
ของทุกปี นอกจากนี้ ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ยังมีการจัดแสดง
ย่อยๆ ในทุกๆ สุดสัปดาห์อีกด้วย อันเป็นอีกหนทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับชาวกูยเพื่อ
ไม่ให้เกิดปัญหาช้างเร่ร่อนอีกต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)